【batman111】‘วิถีคุณหมอ’ พลิกผันจากฝันวิศวกร ‘ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา’ บทบาทใหม่ ‘หัวเรือใหญ่ ม.มหิดล’ | เดลินิวส์

สารานุกรม 2024-09-17 03:54:20 1

“ชอบระบบเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้โตมาจึงฝันอยากจะเป็นวิศวกร แต่พอเห็นว่า…อาชีพแพทย์ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะร่างกายก็คือเรื่องของระบบที่นำเรื่องของวิทยาศาสตร์มาผนวก ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นโลกที่น่าสนใจ จึงเลือกสอบเข้าหมอคู่กับส่งใบสมัครสอบเข้าคณะวิศวะ” เป็นเรื่องราวในวันต้องตัดสินใจเลือกสาขาที่จะศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัย ที่ทาง “ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา” เล่าให้ฟังถึง “จุดเปลี่ยนชีวิต” จนได้เข้าสู่ “เส้นทางคุณหมอ” ทั้งที่ในวัยเด็กนั้น “ฝันอยากเป็นวิศวกร” ที่วันนี้ “ทีมวิถีชีวิต” จะพาไปทำความรู้จักกับคุณหมอท่านนี้…

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ท่ามกลางภารกิจที่รัดตัวหลังจากได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง “รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล” ทาง ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา หรือที่เราเรียกติดปากว่า “อาจารย์ปิยะมิตร” เปิดห้องรับรองบนฐานบัญชาการใหญ่บนตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เราได้นั่งพูดคุยแบบเจาะลึกทุกแง่มุม ทั้งมุมชีวิต ทั้งแนวคิดการทำงาน รวมไปถึงความฝันในฐานะหัวเรือใหญ่ของมหิดลในวันนี้ ที่อาจารย์ย้ำว่า เป็นยุคที่ต้องทำงานภายใต้ความท้าทายใหม่ ๆ มากมายหลากหลายด้าน โดยอาจารย์เล่าถึง “ภารกิจใหญ่ 100 วัน” ที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นหลังเข้ารับตำแหน่งพร้อมกับคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยชุดใหม่ว่า ภายใต้ยุคของอาจารย์นั้น มหิดลจะต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าภายใต้ “กลยุทธ์ MU Synergy” ที่มุ่งเน้นต่อยอดความสำเร็จทางการศึกษาและวิจัยที่ทำให้เกิด “Real World Impact” ในระดับโลก ทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic well-being) และต้องการที่จะทำให้เกิด “Academic Impact” ของมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย และในระดับโลก

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

“มหิดลมีจุดแข็งสำคัญคือ ความเชี่ยวชาญที่ครบถ้วนในสหสาขาวิชา เพราะไม่ได้เชี่ยวชาญแค่สุขภาพและการแพทย์ แต่ศิลปะกับดนตรี หรือสังคมศาสตร์ ก็มีผู้เชี่ยวชาญครบถ้วน ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือสร้างกลไกการเชื่อมโยงและกำหนดทิศทาง กับสร้างกลไกที่จะทำให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างกันให้ได้มากที่สุด”

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยชุดปัจจุบัน และบุคลากร

อาจารย์ปิยะมิตรฉายภาพให้เห็นถึงหางเสือที่จะนำพาเรือลำใหญ่อย่างมหิดลโลดแล่นท่ามกลางกระแสคลื่นโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทาย อาทิ Aging Society, Digital Disruption, Geopolitics, Climate Change เป็นต้น โดยจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ผ่านแนวคิดในการผลักดันให้มหิดลเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิจัย การศึกษา และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ภายใต้ “ยุทธศาสตร์ 3A” คือ “A1” Synergistic and Collaborative Innovations สานภารกิจวิจัย “A2” Empowering Learners เพิ่มอำนาจผู้เรียน และ “A3” Amplifying Operations ขยายผลสัมฤทธิ์

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

อย่างไรก็ดี ก่อนจะลงรายละเอียดเรื่องนี้กันต่อ “ทีมวิถีชีวิต” อยากจะพาไปทำความรู้จักกับ “รักษาการอธิการบดี” ท่านนี้กันก่อน โดยปัจจุบันอาจารย์ปิยะมิตรอายุ 65 ปี และสำหรับ “ชีวิตครอบครัว” นั้น อาจารย์ปิยะมิตร สมรสกับ รศ.พญ.ชนิกา ศรีธรา ซึ่งเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีลูกสาว 4 คน คือ ศศิน, ลลิต, วิวิธ, กนิก ทั้งนี้ ก่อนที่อาจารย์ปิยะมิตรจะรับตำแหน่งรักษาการอธิการบดีนั้น อาจารย์เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วมากมาย อาทิ ประธานบอร์ดศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS), ประธานบอร์ดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข, ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซึม และใน “บทบาทการเป็นนักวิจัย” นั้น อาจารย์ยังเคยได้รับ รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2551 อีกด้วย โดยผลงานวิจัยที่โดดเด่นและอาจารย์รู้สึกภูมิใจมาก เพราะต่อยอดจากงานวิจัยที่ทำมาหลายปี นั่นก็คือ แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทย (Thai CV Risk Score) ที่ปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์กับภรรยา สมัยได้ทุนไปเรียนที่อังกฤษ

สำหรับ “เส้นทางชีวิต” จากที่มุ่งวิศวะ แต่กลายมาเป็นหมอนั้น อาจารย์เล่าว่า ตั้งแต่เด็กไม่เคยคิดเรียนแพทย์ เพราะชอบเรียนวิทยาศาสตร์ กับพวกอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์มากกว่า แต่พอรู้ว่าการเรียนหมอก็มิกซ์ความเป็นหมอและนักวิทยาศาสตร์ได้ ก็เลยสนใจ แต่กระนั้น ตอนเลือกคณะเข้าเรียนต่อหลังจบ ม.ปลาย อาจารย์ก็เลือกแพทย์แค่อันดับ 1 ส่วนที่เหลือได้เลือกวิศวะทั้งหมด ซึ่งผลปรากฏว่าอาจารย์สอบติดแพทย์อันดับแรกก็เลยได้เรียนหมอ ซึ่งหลังเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ได้ไปเป็นแพทย์ใช้ทุนที่ โรงพยาบาลเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี อยู่ 2 ปี ก่อนจะกลับมาทำงานในฐานะแพทย์ตามลำดับ คือ เป็นแพทย์ประจำบ้าน ที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, เป็นอาจารย์ประจำหน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก่อนได้ทุน British Council ไปศึกษาต่อที่อังกฤษ สาขาโรคหัวใจ และช่วงที่ไปอังกฤษ อาจารย์ยังเป็นแพทย์โรคหัวใจประจำโรงพยาบาล Hammersmith จนเมื่อกลับไทย ก็ได้รับตำแหน่งวิชาการ คือ ผศ., รศ. และ ศ. ประจำหน่วยโรคหัวใจตามลำดับ ขณะที่ “งานบริหาร” นั้น อาจารย์บอกว่าเริ่มจากตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก่อนได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งต่าง ๆ ในเวลาต่อมาที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แก่ ผอ.ศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซึม, หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์, หัวหน้าคลัสเตอร์วิจัยหัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซึม และเป็นประธานวิชาการราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ เป็นกรรมการสอบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคหัวใจของแพทยสภาฯ …นี่เป็นเส้นทางชีวิตโดยสังเขปของอาจารย์

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ส่วนเรื่องราวที่น่าสนใจระหว่างทางที่ถือว่าเป็น “แรงบันดาลใจที่สำคัญ” ทำให้อยากเป็นหมอมากขึ้น นั่นก็คือ ชีวิตช่วงเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลเกาะสมุย ประมาณปี 2526-2528 โดยอาจารย์บอกว่า แม้ไปอยู่แค่ 2 ปี แต่ผูกพันมาก เพราะเป็นที่แรกที่ออกไปทํางาน แม้จะไม่ได้กลับไปทำงานที่สมุยอีก แต่ก็ยังคบหาสมาคม ยังมีติดต่อหากันเป็นระยะ ๆ เพราะคนที่คบหากันนั้นเปลี่ยนจากคนไข้กลายมาเป็นเพื่อน จากเพื่อนกลายเป็นกัลยาณมิตรที่ดีกันมาจนถึงวันนี้ ทั้งนี้ อาจารย์ได้ฉายภาพการทำงานที่เกาะสมุยในตอนนั้นให้เราฟังว่า เกาะสมุยเมื่อ 41 ปีที่แล้ว ไม่เหมือนวันนี้ ตอนนั้นสนามบินยังไม่มี การเดินทางจากกรุงเทพฯ ต้องนั่งรถไฟไปลงที่ อ.พุนพิน จากนั้นนั่งรถเมล์แดงไปต่อเรือที่บ้านดอน โดยเรือจะออกตอน 3 ทุ่ม ก็นอนบนเรือไปจนถึงเช้าราว ๆ ตี 5 ก็ถึงเกาะ และยุคนั้นโรงแรมยังไม่มี มีแต่บังกะโลให้เช่าหลังเล็ก ๆ นักท่องเที่ยวก็ยังไม่เยอะ มีแต่ฝรั่งพวกแบกแพ็คที่มาเที่ยว เรียกว่าเป็นสมุยที่เงียบสงบมากในเวลานั้น

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์ภาพครอบครัว กับภรรยา และลูกสาว

“ผมอยู่แค่ 2 ปี แต่รู้สึกดีกับที่นี่มาก อย่างแรกติดทะเล ทำให้ได้ว่ายน้ำ ดำน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมโปรดของผมได้ตลอด แถมชาวบ้านก็น่ารัก แม้จะเสียงดัง แต่จริงใจ และตอนอยู่ที่นั่น นอกจากดำน้ำ ว่ายน้ำ พายเรือ ผมยังซื้อม้าไว้ 1 ตัว เอาไว้ขี่เล่น ๆ รอบเกาะ เพราะตอนนั้นถนนรอบเกาะยังไม่มี ส่วนการทำงานเป็นหมอที่สมุย ก็สนุก เพราะได้ทำอะไรที่ไม่เคยทำหลายอย่าง เนื่องจากทั้งโรงพยาบาลมีหมอแค่ 4 คน ฉะนั้นก็ต้องทำทุกอย่าง แม้แต่ผ่าตัดบางครั้ง เวลามีเคสฉุกเฉิน เพราะการส่งตัวไปฝั่งไม่ง่าย ด้วยข้อจำกัดการเดินทาง ทำให้อะไรที่ทำได้ก็ต้องทำ และการมีคนน้อย ทำให้หมอเด็ก ๆ อย่างผมสนิทกับหมออาวุโสง่ายขึ้น เพราะมีกันเท่านี้” อาจารย์ปิยะมิตรเล่าพร้อมรอยยิ้ม

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ย้อนกลับมาที่ “ภารกิจใหม่” ที่เป็น “ภารกิจใหญ่” ในฐานะผู้นำองค์กรการศึกษาอย่างมหิดลนั้น ทางอาจารย์ปิยะมิตร ได้ฉายภาพเรื่องนี้กับ “ทีมวิถีชีวิต” ว่า วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงทุกวันอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโจทย์ว่าเราจะทำยังไงกับความท้าทายนี้ โดยถ้าพูดถึงการเรียนการสอน ก็ต้องบอกว่าโลกวันนี้มีงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งไม่เหมือนกับรูปแบบงานในอดีต ฉะนั้นหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่มีในอดีต บางทีก็ไม่รองรับสังคมยุคใหม่แล้ว อีกทั้งพฤติกรรมกับความต้องการผู้เรียนก็ต่างไปจากเดิม ทำให้มหาวิทยาลัยต้อง “ทลายกำแพง-ขจัดเส้นแบ่ง” บางอย่างให้ได้ เช่น พัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์ปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยมีศาสตร์ใหญ่ ๆ อยู่ 3 ส่วน คือ ส่วน วิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนที่สอง เทคโนโลยีสุขภาพ และส่วนที่สาม สังคมศาสตร์ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เกิดเป็นคณะและส่วนงานต่าง ๆ อีกรวม 37 ส่วน ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายคือ จะทำยังไงให้เกิดความสัมพันธ์กัน และ ตอบโจทย์ความต้องการที่เกิดขึ้น เพราะยุคนี้จะมีการข้ามศาสตร์เยอะ เช่น แพทย์อาจจะอยากเรียนรู้เรื่องการบริหาร หรือวิศวกรรมก็สามารถมาเรียนได้ ส่วนอีกสิ่งที่อาจเรียกว่า “เป็นความฝัน” ของอาจารย์ปิยะมิตรอีกเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ ออกแบบการเรียนให้ตอบสนองการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ที่แตกต่างจากในอดีต

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์กิจกรรมดำน้ำที่ชื่นชอบ

“สมัยก่อนเรามักจะเน้นการเรียนยาว ๆ คือจบตรี ก็ต่อโท ต่อเอก แต่ยุคนี้ไม่ใช่ เพราะเราเรียนรู้ได้ตลอดช่วงอายุชีวิต จึงเป็นแนวคิดที่มหิดลอยากสนับสนุนให้คนเรียนรู้ได้ทุกช่วงวัย แม้อายุ 75 แล้วก็ยังเรียนได้ รวมถึงอยากให้หลักสูตรการเรียนที่ออกแบบใหม่นี้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตอบโจทย์กับงานใหม่ ๆ ชีวิตใหม่ ๆ ปัญหาใหม่ ๆ ของเขาได้ด้วย หรือถ้าอยากจะเรียนเพื่อ Re-skill หรือ Up-skill ไม่ได้มุ่งเน้นปริญญา หรือวุฒิการศึกษา ก็มาเรียนได้เช่นกัน ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับศัพท์ใหม่ทางการศึกษาอย่างคำว่า Micro Module ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญของโลกสมัยใหม่ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Lifelong Learning นั่นเอง แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่มหิดลอยากให้เกิดขึ้นก็คือ ความสำเร็จที่แท้จริงของการเรียนนั้น อยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ตามพระปณิธาน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มากที่สุด” อาจารย์ปิยะมิตรย้ำเรื่องนี้

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ก่อนที่ “ศ.นพ.ปิยะมิตร” จะต้องไปทำภารกิจต่อช่วงเย็น “ทีมวิถีชีวิต” ได้ถามถึง “ความคาดหวัง” ว่า…อาจารย์ฝันอยากให้อะไรเกิดขึ้นที่สุดจากภารกิจที่ท้าทายนี้? ซึ่งอาจารย์ตอบว่า… “อยากให้องค์ความรู้ที่มหิดลมีอยู่ช่วยพัฒนาชีวิตและสุขภาวะที่ดีให้คนไทย ด้วยการทำให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ที่สุด ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้…เกิด Real World Impact อย่างแท้จริง”.

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์สมัยเป็นแพทย์ใช้ทุนที่ รพ.สมุย

‘ขอเป็นหมอไปตลอดชีวิต’

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ด้วยภารกิจงานด้านบริหารมากมาย ทำให้ “ทีมวิถีชีวิต” สงสัยว่าทุกวันนี้ “ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา” ยังมีโอกาสได้ลงตรวจคนไข้หรือไม่? ซึ่งเมื่ออาจารย์ได้ยินคำถาม ก็ตอบกลับแบบอารมณ์ดีว่า ยังคงตรวจคนไข้เป็นประจำ โดยใน 1 สัปดาห์จะต้องพยายามหาเวลาเพื่อลงตรวจคนไข้ให้ได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพราะทุกครั้งที่ได้ตรวจคนไข้ทำให้มีความสุขและรู้สึกมีชีวิตชีวามาก นอกจากนี้ อาจารย์ยังบอกว่า การตรวจคนไข้ดีกว่าการอ่านตำราเสียอีก เพราะคนไข้แต่ละคนมีมุมมอง มีเรื่องราว และข้อมูลที่ต่างกัน อาจารย์จึงได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ เสมอจากคนไข้ แถมบางครั้งยังนำสิ่งที่คนไข้เล่ามาปรับใช้กับชีวิตอีกด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไร และตราบใดที่ยังมีแรงอยู่ จะไม่ทิ้งภารกิจนี้แน่นอน เพราะเป็น “Passion” ที่ทำให้ “รักในอาชีพหมอ”.

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

วิถีคุณหมอพลิกผันจากฝันวิศวกรศนพปิยะมิตรศรีธราบทบาทใหม่หัวเรือใหญ่มมหิดลเดลินิวส์
本文地址:http://realhistorychan.com/html/75e599898.html
版权声明

本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。

热门文章

全站热门

“มูลนิธิเอสซีจี” เดินหน้าสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ | เดลินิวส์

"แม่คุณเอ๋ย"จาก"Babepoom"กับปฏิบัติการจีบสาวครั้งสำคัญที่จะทำให้สำเร็จต้องเข้าทางแม่ | เดลินิวส์

ศุภรัตน์ อารีย์วงศ์ – THE STANDARD

'ผู้ว่าแบงก์ชาติ' ยันไม่เห็นสัญญาณเงินฝืด ลั่นไม่ยึดติด พร้อมปรับดอกเบี้ย | เดลินิวส์

Redirecting...

ผวา! หมีควายบุกกัดกินพืชไร่ทำชาวบ้านเดือดร้อน ระดมกำลังเร่งค้นหา เฝ้าระวัง | เดลินิวส์

รอเชียร์สดพร้อมกัน! 'เทพบิว' กระหึ่มโลก เวลาดีสุดรอบรองฯ ทะลุชิง 100 เมตรโลก | เดลินิวส์

ดราม่า! 'แตงโมลงปิยะพงษ์ยิง' โต้ดุเดือด หลังสื่อรายหนึ่งแซะ 'เป็นโฆษกหรือตัวตลก-หุ่นเชิด' | เดลินิวส์

热门文章

友情链接