【wild bounty showdown】อัพไซเคิลธุรกิจบูม เปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน รับความต้องการคนรุ่นใหม่ | เดลินิวส์
“พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ มองว่า จากปริมาณขยะมหาศาลเหล่านี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนเป็นภาระทางคลังของประเทศ ซึ่งความท้าทายในการจัดการขยะจำนวนมาก และต้นทุนในการดำเนินการที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณขยะ ก่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ การอัพไซเคิล ซึ่งหมายถึง การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูป ออกแบบต่อยอด และพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มีมูลค่ามากขึ้น และสามารถนำไปใช้งานได้จริงได้รับความนิยมขึ้นต่อเนื่อง
อัพไซเคิลธุรกิจบูมเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินรับความต้องการคนรุ่นใหม่เดลินิวส์เป็นผลจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงสินค้าและบริการอัพไซเคิลด้วย โดยบริษัทวิจัยการตลาด Grand View Research ได้รวบรวมมูลค่าตลาดอัพไซเคิลทั่วโลก และคาดการณ์ว่า ในปี 2568 ตลาดอัพไซเคิล จะมีมูลค่า 9,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเติบโตเฉลี่ย 5.6% ต่อปี เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดวัตถุดิบอัพไซเคิล ที่คาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 512 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2575 โดยเติบโตเฉลี่ย 6.4% ต่อปี
อัพไซเคิลธุรกิจบูมเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินรับความต้องการคนรุ่นใหม่เดลินิวส์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลที่น่าสนใจ อาทิ แบรนด์ Forust ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน ได้นำเศษขี้เลื่อยที่เหลือจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ มาขึ้นรูปและใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในการออกแบบชิ้นงาน ลายไม้ และสี รวมถึงพิมพ์เป็นรูปร่างต่าง ๆ อาทิ คอนโซลรถยนต์ โคมไฟ และแจกัน แบรนด์ The R Collective ของฮ่องกง ผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นที่ใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์เนื้อผ้าที่เหลือจากกระบวนการผลิต เพื่อคัดเลือกวัสดุผ้าคุณภาพดีที่สุดแล้วนำมาตัดเย็บเป็นชิ้นงานใหม่ และ แบรนด์ Rothy’s ของสหรัฐอเมริกา ที่ผลิตรองเท้า กระเป๋าและเครื่องประดับ โดยนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นเส้นใยและถักทอด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ในประเทศไทยก็มีผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลหลากหลายมากขึ้น และเป็นที่รู้จักมากขึ้น อาทิ แบรนด์
PIPATCHARA ที่ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องประดับจากฝาขวดพลาสติก แบรนด์ Uptoyou ที่ผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์หลากหลาย และ แบรนด์ Plan Toys ที่ผลิตของเล่นจากต้นยางพาราที่หมดอายุการให้นํ้ายาง วัสดุเหลือใช้จากการผลิตไม้ ขี้เลื่อย และวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอัพไซเคิลของไทยสามารถแข่งขันและเติบโตได้ในอนาคต เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการรวบรวมและแยกขยะ ออกแบบ และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดปริมาณขยะและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ และการสนับสนุนทุกภาคส่วน อาทิ มาตรการทางการเงิน ภาษี และการลงทุนในธุรกิจหมุนเวียน การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล.
อัพไซเคิลธุรกิจบูมเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินรับความต้องการคนรุ่นใหม่เดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/html/90d599375.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。