【fortune ox ทดลอง】เจาะลึกพัฒนาแบรนด์อสังหาฯ"ลักชูรี่"ตอบโจทย์ยุคแห่ง"ความยั่งยืน" | เดลินิวส์
หลายคนอาจมองว่าคอนเซ็ปต์ของ “ความลักชูรี่” และ “ความยั่งยืน” เป็นโลกคู่ขนาน ที่ไม่น่าจะโคจรมาบรรจบกันได้ แต่ในยุคที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าไปสู่ความยั่งยืน และนิยามของความลักชูรี่ในยุคนี้ ก็ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่ที่ความหรูหรา หรือ ฟุ่มเฟือยอีกต่อไป แต่ปรัชญาแห่งความลักชูรี่ แท้จริงแล้วกลับมีแก่นแนวคิดที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีได้ดังนั้นเพื่อเปิดมุมมองใหม่สำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ในการสร้างแบรนด์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ขึ้นสู่ความลักซ์ชัวรี และตอบโจทย์ยุคแห่งความยั่งยืน TERRABKK (เทอร์ร่า บีเคเค) สื่อและที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาฯชั้นนำของไทย จึงได้จัดงาน TERRAHINT Brand Series 2024 งานสัมมนาใหญ่ที่เว็บไซต์ TerraBKK.com จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยในปีนี้ จัดขึ้นที่ LIDO CONNECT สยามสแควร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Luxury is a necessity in the sustainability era. #ชีวิตติดแกลม เจาะกลยุทธ์การพัฒนาแบรนด์สู่ความลักชูรี่ตอบโจทย์ยุคแห่งความยั่งยืน”
ภายในงานได้รับเกียรติจากจากวิทยากรชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศร่วมสัมมนาและแชร์มุมมองที่น่าสนใจ เริ่มจากดร.เควิน ชอง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์เชิงพาณิชย์ (ฝ่ายขาย) เซ็นโตซ่า ดีเวลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (เกาะเซ็นโตซ่า สิงคโปร์) และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์
ดร.เควิน ได้ฉายภาพให้เห็นการนำแนวคิดความลักชูรี่และความยั่งยืนมาใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างน่าสนใจ ผ่าน 2 โครงการสำคัญของรัฐบาลสิงคโปร์ เริ่มจากเซนโตซา เกาะพักผ่อนตากอากาศที่มีชื่อเสียงของประเทศสิงคโปร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศและมีขนาดเพียง 5 ตารางกิโลเมตร เบื้องหลังความร่มรื่นและเขียวชอุ่มของเกาะแห่งนี้ เกิดจากการที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายกำหนดให้บนเกาะต้องมีพื้นที่สีเขียว 70% ดังนั้น ที่เน้นการใช้พลังงานจากเกาะสิงคโปร์ให้น้อยที่สุด และใช้พลังงานจากภายในเซนโตซา
การพัฒนาเกาะเซนโตซาไม่ใช่การมาสร้างสิ่งใหม่ แต่เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาทำให้เกิดดีให้เกิดประโยชน์ อีกหัวใจสำคัญที่ทำให้เซนโตซามีเสน่ห์ คือ การสร้างบรรยากาศให้ที่นี่แตกต่างจากสิงค์โปร์ เริ่มตั้งแต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการไม่มีไฟจราจร หรือ ป้ายแจ้งเตือนความเร็ว โดยทั้งหมดนี้มาจากวิสัยทัศน์ของรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่มองการณ์ไกลตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในยุคที่สิงคโปร์กำลังจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการเงิน โดยมองว่า หากทุกที่ถูกพัฒนาให้เป็นย่านการเงิน ธุรกิจ คนสิงคโปร์ไม่ใช่แค่รุ่นนี้ แต่ในรุ่นๆต่อไป จะไม่มีสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ จึงตั้งใจวางคอนเซปต์ให้เซโตซา เป็นเกาะตากอากาศให้ผู้คนได้มาพักผ่อน”
อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ คือ โครงการ Punggol Digital District ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50 เฮกตาร์ (312.5ไร่ )เพื่อการเป็นศูนย์กลางสำหรับเขตอุตสาหกรรมดิจิทัลแห่งใหม่ของสิงคโปร์ โดยมีแนวทางการพัฒนาที่ใช้พื้นที่แบบบูรณาการ เพื่อความยั่งยืนในอนาคต อาทิ การสร้างพื้นที่สำหรับธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีสิงคโปร์แห่งใหม่ ที่พักอาศัย สวนสาธารณะ และศูนย์การค้าดิจิทัล บนพื้นที่สีเขียวที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
สำหรับโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ดร.เควิน มองว่า ประเทศไทย ควรมีการ Decentralized (กระจายอำนาจ) ดึงความเจริญออกจากเมืองหลวง ไปในเมืองต่างๆ ย้ายสถานที่ราชการให้ไปอยู่ชานเมือง เพื่อให้คนขยายตัวออกไป ลดความหนาแน่นของประชากรในเมือง
ฉายภาพการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปสู่ความยั่งยืนของต่างประเทศไทยไปแล้ว กลับมาที่ประเทศไทยที่มีการเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บนวิถีแห่งความยั่งยืนเช่นกัน ผ่านวงเสวนา “Is luxury a necessity in the sustainability era? ยุคแห่งความยั่งยืน ความหรูหราเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่?”
เริ่มจากจี ฮุง แทน ผู้จัดการโรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพ มองว่านิยามของคำว่า ลักชูรี่ในอดีตคือ การบ่งบอกสถานะบางอย่าง แต่ในปัจจุบันนิยามของคำว่า ลักชูรี่เปลี่ยนแปลงและมีวิวัฒนาการไปสู่ความสบาย เป็นความพึงพอใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การได้มีเวลา ได้ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเอง ซึ่งนิยามความหรูหราของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป
“ในด้านของความยั่งยืน เราไม่ได้พยายามสื่อสารว่าเราสร้างความยั่งยืนให้สังคมอย่างไร แต่พยายามส่งมอบประสบการณ์ให้แขกทุกคนที่มาใช้บริการได้สัมผัสถึงแนวคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านทุก TouchPoint (จุดที่ผู้บริโภค มีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจ) ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร ที่มาจากฟาร์มของเกษตรกรในท้องถิ่น ขณะเดียวกันเรายังตอบโจทย์ในการสร้าง Sense of Space (คือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคนและสถานที่) ที่ตอบโจทย์ความลักชูรี่ ด้วยการมอบความเป็นส่วนตัวและความยืดหยุ่นให้แขกที่มาใช้บริการ”
ขณะที่นภนิศ อิศรางกูร ณ อยุธยาผู้อำนวยการ ผู้บริหารกลุ่มงานสร้างสรรค์ประสบการณ์และกลยุทธ์โครงการบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด มองว่า ความลักชูรี่ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรดักต์หรือสินค้า แต่หมายถึงไลฟ์สไตล์หรือประสบการณ์ จะเห็นว่า แบรนด์ลักชูรี่ในปัจจุบันได้พัฒนาตัวเองไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการเลือกใช้วัสดุหรือเส้นใยจากธรรมชาติหรือมีการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทำให้สินค้ามีความยั่งยืน ขณะเดียวกันความลักชูรี่ยังสามารถตีความในแง่ประสบการณ์ เช่น การมาศูนย์การค้าที่มอบพร้อมประสบการณ์ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
“จะเห็นว่า ถึงแม้สยามพิวรรธน์จะไม่ได้พัฒนาศูนย์การค้าจำนวนมาก แต่ทุกแห่งที่เราพัฒนามีความยูนีค เพราะเรามองว่า ศูนย์การค้าแต่ละแห่งเป็นตัวแทนของคนหนึ่งคน ดังนั้น ลูกค้าที่มาใช้บริการจะไม่ได้รู้สึกว่ากำลังมาเดินศูนย์การค้า แต่มาหาเพื่อน. ดังนั้น สิ่งที่เราพยายามนำเสนอคือ ความเป็นไทยที่มีความเป็นโกลบอล หรือ อย่างสยามดิสคัฟเวอรี่ แนวคิดคือ The Exploratorium ที่เปรียบเสมือนสนามทดลองพลังอำนาจแห่งความคิดสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์สุดตื่นเต้นเร้าใจ จนบางครั้งลูกค้าที่มาใช้บริการตอนแรกไม่มีโจทย์ในใจด้วยซ้ำว่าจะมาซื้ออะไร สุดท้ายแล้วศูนย์การค้าแบบ แบบ Brick and Mortar หรือการค้าขายที่ดำเนินธุรกิจผ่านร้านค้า ไม่มีวันตาย เพราะการช็อปออนไลน์ ไม่สามารถมอบประสบการณ์ได้เหมือนกับการมาเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ศูนย์การค้ามอบให้”
สอดคล้องกับมุมมองของคุณจตุพร วงษ์ทอง ผู้ก่อตั้ง Artslonga ศิลปินผู้สร้างสรรค์พื้นที่ว่างด้วยงานศิลปะ ในบทบาท Art Consultant ให้กับโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และบริษัทชั้นนําทั่วประเทศ และเป็นเจ้าของรางวัล Asia Architecture Design Awards 2 ปีซ้อน มองว่า ความลักชูรี่ในยุคนี้ ไม่ใช่เรื่องความฟุ่มเฟื่อยอีกต่อไป แต่เป็นการเสพ New Experiences หรือ การได้สัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตในพื้นที่ใหม่ ดังนั้นหน้าที่ของศิลปะ คือ การเติมเต็มพื้นที่ต่างๆให้ตอบโจทย์กับดีเอ็นเอของแบรนด์
“Eco Luxury คือ หนึ่งในแนวทางการผสานความลักชูรี่แบบยั่งยืนไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่าง โรงแรมคิมป์ตัน มาลัย กรุงเทพฯ ที่โดดเด่นด้วยการออกแบบทุกส่วนด้วยแนวคิดของการร้อยพวงมาลัย
และยังมีการนำคอนเซ็ปต์ Eco Luxury มาใช้ ด้วยการนำศิลปะหรือเทคนิคพิเศษต่างๆ มาชุบชีวิตวัสดุที่กลายเป็นขยะให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง เช่นเคาน์เตอร์ไม้ในโรงแรม ที่นำไม้ที่ใช้สำหรับปูทับพื้นหินอ่อนมากรูมมิ่งด้วยฝีมือของช่างไทยที่มีความละเอียดอ่อน หรือ การนำดินที่เหลือจากการตอกเสาเข็ม มาสร้างเป็นผนังดินแตก ที่นอกจากจะเป็นผลงานศิลปะที่ให้ความสวยงาม แต่ยังทรงคุณค่า เป็นการรักษาจิตวิญญาณของพื้นที่ให้ยังคงอยู่ตลอดไปอีกด้วย”
เปิดมุมมมองได้กระจ่างชัด “ความลักชูรี่” และ “ความยั่งยืน”ไม่ใช่โลกคู่ขนานอีกต่อไป
เจาะลึกพัฒนาแบรนด์อสังหาฯquotลักชูรี่quotตอบโจทย์ยุคแห่งquotความยั่งยืนquotเดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/html/87a599374.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。