【กัซเทป】โรคไต ภัยเงียบที่ป้องกันได้ | เดลินิวส์
“ไต” ถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญและทำงานหนักของร่างกาย มีหน้าที่หลักในการกรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายในรูปปัสสาวะ การถนอมและยืดเวลาให้ไตทำงานปกติได้นานที่สุด จึงมีความสำคัญ เพราะหากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงเรื่อยๆ เป็นระยะเวลานาน อาจจะนำไปสู่โรคไตเรื้อรัง หรือChronic Kidney Disease (CKD) และเนื่องจากโรคนี้ในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้ไม่ทราบถึงความเจ็บป่วย โดยส่วนใหญ่มักจะตรวจพบเมื่อมีอาการของโรคชัดเจนมากขึ้น ซึ่งการตรวจพบช้า เพราะผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการก็ต่อเมื่อเนื้อไตสูญเสียการทำงานไปมากแล้ว
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไต ถึง 1,172,462 คน และมีถึง 65% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นโรคไตระยะที่ 3 – 5 ซึ่งเป็นระยะที่การทำงานของไตลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตระยะที่ 4 และ 5 อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้อง หรือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เวลาในการล้างไตผ่านทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่บ้านวันละประมาณ 4-8 ชั่วโมงต่อครั้ง 4-6 ครั้งต่อวัน หรือล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติครั้งละ 8-12 ชั่วโมงต่อครั้งต่อวัน และสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยต้องมาเข้าโรงพยาบาลเกือบตลอดเวลา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 4-5 ชั่วโมง เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องฟอกไต ให้เครื่องสามารถทำความสะอาดเลือดของพวกเขาได้ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ และความสามารถในการทำงานของผู้ป่วยเอง รวมไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์ดังนั้นหากได้รับการคัดกรองและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถคงประสิทธิภาพการทำงานของไตไว้ได้นานกว่าการเริ่มรักษาในระยะที่รุนแรงขึ้น ช่วยชะลอการลุกลามของโรค ทำให้ตัวผู้ป่วยมีโอกาสที่ดีที่สุดในการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ พร้อมกับโอกาสในการรักษาด้วยวิธีการใหม่ๆ ในอนาคต
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์อย่างไรก็ตามน่าเสียดายที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยเลยไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ บางครั้งยังมักจะเลื่อนการตรวจที่อาจมีความสำคัญต่อสุขภาพในระยะยาวออกไป อย่างเช่นการตรวจค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่เสียเวลามาก และค่าใช้จ่ายไม่แพง ที่สำคัญเป็นการตรวจที่สามารถช่วยคัดกรองและระบุปัญหาของไตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยชีวิตผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไตในระยะยาวได้ ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อรับการตรวจ eGFR จากโรงพยาบาลที่ได้รับการรักษาอยู่ หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการคัดกรองโดยเร็ว อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือมีประวัติสูบบุหรี่มาก่อน เป็นต้น
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์ทางบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด มีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำแคมเปญ “ห่างไกลโรคไต ตรวจไตทุกปี” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการตรวจไตในระยะต้นๆและได้ร่วมมือกับ กองโรคไม่ติดต่อ เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมเพื่อนโรคไตและตัวแทนผู้ป่วยโรคไต จัดทำคลิปวิดีโอรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง คัดกรองโรคไตในระยะเริ่มต้น จำนวน 4 คลิป เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคไตให้กับประชาชนทั่วไป ในการดูแลตัวเอง หมั่นตรวจเช็คสุขภาพให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์วันไตโลกตลอดทั้งปี 2567 โดยผู้สนใจสามารถรับชมคลิปวิดีโอทั้ง 4 EP. ได้ผ่านทาง link
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์EP.1 “ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าเป็นโรคไต?”
https://www.facebook.com/share/v/4bs2nK8sBymAd5Ba/?mibextid=WC7FNe
EP.2 “ระบบบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคไต จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีอะไรบ้าง?”
EP.3 “ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับโรคไต หากเราหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคไต ปรึกษาใครดี?”
EP.4 “จะปฏิบัติตัว ป้องกันตัว และบริโภคอาหารอย่างไร ให้ห่างจากโรคไต?”
ติดตามแหล่งความรู้สำหรับผู้เป็นเบาหวาน และผู้ดูแลโดยเฉพาะได้ทาง LINE OA จากใจถึงไต ห่างไกลเบาหวาน
คลิก และเฟซบุ๊กจากใจถึงไต ห่างไกลเบาหวาน คลิก
ทุกคนทราบดีว่าโรคไตมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก การตรวจคัดกรองโดยเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรังได้ แนะนำนัดหมายตรวจไตกับแพทย์หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านวันนี้! เพื่อรักษาสุขภาพของเราและครอบครัว สร้างสังคมคนไทยมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น…ได้เวลาตรวจไตกันแล้ว!
โรคไตภัยเงียบที่ป้องกันได้เดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/html/57d599907.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。