【หมอไก่ให้โชค】แก้ประมวล 'จริยธรรม' !!? | เดลินิวส์
หลังจากมีกระแสข่าวว่า มีคนไปยื่นต่อ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ครอบงำ พรรคเพื่อไทย ซึ่งหากเป็นสมาชิกพรรค สามารถให้คำแนะนำกับพรรคได้ แต่ นายทักษิณ เป็นสมาชิกพรรคไม่ได้เนื่องจากเคยต้องโทษอาญา ขัดต่อ พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 24 วันที่ 26 ส.ค. นายทักษิณได้เข้าประชุมร่วมกับ อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ที่ตึกชินวัตร 3 ด้วย
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์เมื่อผู้สื่อข่าวถามเรื่องครอบงำพรรค นายทักษิณกล่าวเพียงว่า ไม่รู้เรื่อง อย่าไปสนใจ คนของพรรคเพื่อไทย อาทิ นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน สส.พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า นายทักษิณไม่ได้ครอบงำพรรค การครอบงำพรรคจะต้องเป็นเรื่องของการสั่งการให้พรรคเพื่อไทยปฏิบัติตามในเรื่องต่าง ๆ แต่นายทักษิณไม่เห็นสั่งอะไร จะให้สัมภาษณ์ก็เป็นความคิดของเขา
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์นายวิสุทธิ์ ยังแย้มด้วยว่า ได้นัดหัวหน้าพรรคประชาชน วันที่ 28 ส.ค.เพื่อหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องประมวลจริยธรรมและการยุบพรรค เห็นว่าประเด็นที่หัวหน้าพรรคประชาชนเสนอมา ก็ถือว่านักการเมืองทุกคนมีความหนักใจ เช่น เรื่องคำว่า “มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง” เป็นคำที่กว้างต้องระวังขนาดใครมีลูก มีหลาน และเป็นนักการเมือง ก็ต้องดูให้อยู่ในบ้านตลอด อย่าไปเที่ยวทำอะไรที่ผิดพลาดแล้วก็เกิดเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งเห็นด้วยที่จะต้องมีการแก้ไขบางเรื่อง ที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ของนายกฯ และคาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ล่าช้า
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ช่วยยืนยันว่า การยื่นให้ตรวจสอบนายทักษิณครอบงำพรรค เป็นเรื่องเก่าๆเดิมๆ เอาประเด็นการเมืองมาจับผิดกัน ทั้งนี้ การที่บุคคลใดจะให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมการเมือง เรื่องปัญหาการครอบงำเกิดขึ้นในยุคที่มีการทำรัฐประหารยึดอำนาจ และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเป้าหมายสกัดกั้นพรรคเพื่อไทยโดยเฉพาะ ซึ่งขัดหลักนิติธรรม
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์“ขอให้เลิกเอากับดักทางการเมืองนี้มาทิ่มแทงกันเอง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทบทวนกฎหมายพรรคการเมืองในขณะที่เรากำลังจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้” นายชูศักดิ์ กล่าว ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ต้องยกร่างกฎหมายลูกใหม่ คือ พ.ร.ป.พรรคการเมือง คราวนี้จะตัดเรื่องคนนอกครอบงำหรือไม่ โดยบอกว่า เป็นเรื่องธรรมดาของการรับฟังความเห็น
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์ที่สำคัญคือ จะจัดการอย่างไรกับประมวลจริยธรรม เมื่อมันสามารถให้คุณให้โทษกับนักการเมืองได้อย่างมาก ถึงขนาดตัดสิทธิตลอดชีวิต เช่นที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้าโดน หรือตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ โดนก็กลายเป็นผู้ไม่มีจริยธรรม ขาดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งนายกฯ ไปโดยอัตโนมัติ
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์การตั้งรัฐมนตรีก็ยังไม่ลงตัว “หมอมิ้ง พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช” เลขาธิการนายกฯ บอกว่า “บางพรรคยังส่งรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีไม่ครบ” ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพรรค ยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทวงสัญญาว่า พรรค พปชร.มีมติเป็นพรรคร่วมรัฐบาล และวันที่ 16 ส.ค.พรรค พปชร.ได้ลงมติให้ น.ส.แพทองธารเป็นนายกฯ
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์“วันที่ 20 ส.ค. 2567 หัวหน้าพรรค พปชร.ได้เสนอรายชื่อบุคคล ซึ่งพรรคเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรคไปให้นายกฯ ผ่าน นพ.พรหมินทร์ ปรากฏว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่พรรคเสนอเป็นรองนายกฯ และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ไม่ได้รับการติดต่อเพื่อส่งแบบข้อมูลประกอบการเสนอเรื่องการแต่งตั้งรัฐมนตรีมาให้ จึงขอให้นายกฯ ส่งเอกสารให้ พล.ต.อ.พัชรวาท”
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถามหมอมิ้ง ได้คำตอบสั้นๆ ว่า “มีจดหมายของเขาแล้วไง” ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ส่งเอกสารให้ พล.ต.อ.พัชรวาทไปแล้วหรือไม่ นพ.พรหมินทร์ กล่าวว่า ให้เลขาธิการ ครม.ดู ไม่มีอะไร …ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า เป็นไปอย่างที่มีข่าว “มีชินวัตรต้องไม่มีวงษ์สุวรรณ” หรือไม่..พรรค พปชร.จะแตก กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคจะส่งชื่อตัวเองเป็น รมว.เกษตรและสหกรณ์ (โดยหากคุณสมบัติไม่ผ่าน จะเปลี่ยนชื่อเป็นนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ หัวหน้าพรรคกล้าธรรม ที่กรอกประวัติแล้ว) และนายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์หรือไม่
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์หรือเก้าอี้ รมว.ทส.จะกลายเป็นของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ รมช.สาธารณสุข จะเป็นของนายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่มีข่าวว่า นายเดชอิศม์ได้ให้คนใกล้ชิดส่งเอกสารของตัวเองให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว แต่ทางพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่มีมติร่วมรัฐบาล การดำเนินการของหัวหน้าและเลขาธิการพรรค อาจขัดข้อบังคับพรรคและขัดต่อ พ.ร.ป.พรรคการเมือง ทำให้รัฐบาลมีปัญหาอีก
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์นายจักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ได้กรอกประวัติ จึงคาดว่า ไม่ได้ไปต่อใน ครม. “อิ๊งค์1” มีกระแสข่าวว่านายสรวงศ์ เทียนทอง จะมานั่ง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็น รมว.กลาโหม พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เป็น รมช.กลาโหม น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส.กทม.พรรคเพื่อไทย เป็น รมช.มหาดไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย เหลือรองนายกฯ เก้าอี้เดียว การตรวจประวัติของ สลค.จากเดิมใช้เวลาเพียง 3-4 วัน แต่ครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 7 วัน และ รมว.พาณิชย์ ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นนายพิชัย นริพทะพันธุ์ หรือไม่
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ “ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับไทย จะต้องติดคุกในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตจำนำข้าว ที่ศาลตัดสินจำคุก 5 ปีหรือไม่” ซึ่งต้องดูระเบียบคุมขังนอกเรือนจำใหม่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังนอกสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 หรือระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ยืนยันว่า เรื่องนี้จำเป็นเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ ซึ่งนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ทำระเบียบ แนวทางการปฏิบัติ และกำหนดคุณสมบัติของผู้ต้องขังหรือหลักเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรอบคอบ จึงต้องนำเรื่องรายงานเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการราชทัณฑ์อีกครั้ง
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า เดิมทีกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการพิจารณาคุมขังนอกเรือนจำ เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย หรือประมาณโทษ 4 ปี แต่ในระเบียบใหม่ไม่ได้มีการกำหนดอัตราโทษไว้ ต้องรอกรรมการราชทัณฑ์สรุปอีกครั้ง และอยู่ที่เรือนจำแต่ละแห่งไปพิจารณาว่าผู้ต้องขังเด็ดขาดรายใดมีพฤติกรรมดี ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี หรือไปก่อเหตุร้าย และไม่ไปยุ่งเหยิงสิ่งใด ถ้าเป็นคดีร้ายแรง การเข้าสถานที่คุมขังอื่นก็เพื่อพัฒนาพฤตินิสัย ส่วนคดีทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ใช่คดีการกระทำความผิดซ้ำตามกฎหมาย JSOC แต่เราก็ระวัง เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างความรู้สึกของประชาชน แม้มีกฎหมายบัญญัติแต่ก็ต้องดูความเหมาะสมประกอบ
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์ผู้ถูกคุมขังนอกเรือนจำ ศาลอาจมีเงื่อนไขให้ราชทัณฑ์ไปช่วยดูแลผู้ต้องขัง มาตรการเบื้องต้นคือบางรายอาจต้องให้ศาลมีคำสั่งติดกำไลอีเอ็ม มีการรายงานตัวในระบบออนไลน์ มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้าไปสอดส่องตรวจตรา และบางส่วนอาจต้องมีการทำหนังสือลงนาม (MOU) กับตำรวจหรือทหาร พ.ต.อ.ทวียืนยันว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และกระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้รับเรื่องประสานกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยื่นขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายแต่อย่างใด แต่สุดท้าย ระเบียบจะเอื้อต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่ ก็ต้องรอให้เวลาให้คำตอบ.
แก้ประมวลจริยธรรมเดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/html/46d599943.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。