【ตารางคำนวณหวย】‘หัวไว-ใจสู้’ จึงซัคเซสฟื้นฟูของดี ‘วิถีชุมชนถ้ำสิงห์ ชุมพร’ แก้พื้นที่สีแดง..สู่ ‘สีกาแฟทำเงิน’ | เดลินิวส์

แฟชั่น 2024-09-19 17:05:57 8364

“บ้านถ้ำสิงห์ผ่านวิกฤติมาหลายช่วง จากเคยสูงสุดก็ร่วงสู่ต่ำสุด แล้วก็พลิกฟื้นกลับมาสูงสุดอีกครั้งได้ ก็เพราะชุมชนเรามีความเข้มแข็ง” เป็นเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบของ “ชุมชนบ้านถ้ำสิงห์ จ.ชุมพร” จากการบอกเล่าโดย “นิคม ศิลปศร” ผู้ริเริ่มและหนึ่งในแกนนำสำคัญในการกู้ชีพให้กับ “กาแฟแบรนด์ถ้ำสิงห์” ซึ่งเป็นของดีของชุมชนแห่งนี้ ให้กลับมามีชื่อเสียงโด่งดังอีกครั้งได้สำเร็จ หลังเคยเกือบจะสูญสลายไปจากชุมชนมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งอะไรที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของชุมชนนี้ วันนี้ “ทีมวิถีชีวิต” จะพาไปถอดรหัส และทำความรู้จักกับชุมชนเข้มแข็งแห่งนี้กัน…

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์นิคม ศิลปศร

ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ “ทีมวิถีชีวิต” ได้รับเชิญจากทาง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้ร่วมเดินทางไปกับคณะผู้บริหารของธนาคาร เพื่อติดตามเยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่ม “เกษตรกร ธ.ก.ส.” ในพื้นที่ จ.ชุมพร โดย “บ้านถ้ำสิงห์” ซึ่งเป็น วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ ก็เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญ โดยมีเรื่องราวและแนวคิดน่าสนใจ ที่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้ ซึ่งความสำเร็จของชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นจาก “แนวคิดเรียบง่าย” อย่างคำว่า “หัวไว-ใจสู้” จนสามารถแจ้งเกิด “กาแฟถ้ำสิงห์” ขึ้นมา และกลายเป็น “ของดีขึ้นชื่อ” ได้สำเร็จ โดย นิคม แกนนำผู้ริเริ่มเรื่องนี้ และในฐานะที่เขาเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ด้วย เล่าให้ฟังว่า ตนเองเติบโตที่นี่ ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านมาตั้งแต่เด็ก ซึ่ง คนในชุมชนมีอาชีพหลักคือปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า และปลูกทุเรียนกับกล้วยหอมทองเป็นพืชเสริม เมื่อก่อนบ้านถ้ำสิงห์จะมีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 20,000 กว่าไร่ โดยถือเป็นพืชที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ และสร้างความอยู่ดีกินดีให้ชาวบ้านมาตลอด จนช่วงที่เกิดพายุเกย์ ช่วงนั้นเองที่ทำให้กาแฟบ้านถ้ำสิงห์ต้องเจอกับวิกฤติ ทั้งเรื่องราคาที่ตกต่ำ รวมถึงนโยบายของรัฐช่วงนั้นก็บังคับให้ลดพื้นที่ปลูก ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่จำใจต้องตัดต้นกาแฟทิ้ง

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

“อย่างที่บ้านผมเองเคยปลูกไว้ 30 ไร่ ก็ตัดทิ้งหมด จนไม่เหลือสักต้น โชคดีที่ยังมีคนเก่าแก่บางคนที่ยังปลูกไว้ ซึ่งหลังชาวบ้านเลิกปลูกกาแฟ ก็หันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันมากขึ้น จนทำให้บ้านถ้ำสิงห์เกิดวิกฤติปัญหาสารเคมีรุนแรง และตามมาด้วยเกิดโรคระบาดรุนแรง จนทำให้ที่นี่ถูกประกาศเป็นพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ใช้สารเคมีเข้มข้น!!”

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์เครื่องที่ใช้คั่วกาแฟ

นิคม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ฉายภาพปัญหาในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ก่อนจะเล่าให้ฟังอีกว่า ตอนนั้น ในฐานะที่เป็นผู้นำ ทำให้เขาต้องมาคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง เพราะมองว่าหากปล่อยแบบนี้ไปจะทำให้กาแฟโรบัสต้าสูญหายไปจากชุมชน หรืออาจหายไปจาก จ.ชุมพร เลยก็ได้ ทั้งที่เคยเป็นพืชที่สร้างรายได้อันดับ 1 ของชาวบ้าน จนมาได้ข้อสรุปว่าจำเป็นจะต้องนำพืชกาแฟที่ล้มหายตายจากไปกลับมา และนำมาเป็นพืชที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ อาทิ ช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ช่วยปรับปรุงดิน รวมถึงช่วยลดปัญหาเรื่องโรคระบาด กับการใช้สารเคมีเข้มข้นด้วย …ทางประธานกลุ่มเล่าถึงที่มา จุดเริ่มต้นที่ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์” แห่งนี้ในที่สุด โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 ซึ่งเขาได้เล่าต่อไปอีกว่า ได้ทำการรวบรวมและคัดเลือกคนที่เคยมีประสบการณ์ปลูกกาแฟในยุคเก่าที่ผ่านมา โดยมีหลักพิจารณาเลือกคนเข้ามาทำภารกิจนี้คือจะเน้น “เลือกคนที่หัวไว-ใจสู้” จนได้สมาชิกมาประมาณ 20 คน จากนั้นก็เริ่มเดินหน้าตามเป้าหมาย นั่นก็คือ ฟื้นคืนชีพกาแฟถ้ำสิงห์ ซึ่งโชคดีมาก ๆ ที่ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากทาง ธ.ก.ส. ภายใต้ สินเชื่อพัฒนาการเกษตรแปลงใหญ่ ดอกเบี้ย 0.01 % เป็นเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียน

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์กระบวนการคั่วกาแฟ

“กาแฟนั้นเป็นพืชชีวิตของพวกเราบ้านถ้ำสิงห์ เราจึงอยากคืนชีพกาแฟขึ้นมา แต่ก็ต้องทำกาแฟให้ดี มีคุณภาพ แตกต่างไปจากเดิมด้วย ซึ่งที่อื่น ๆ อาจรวมตัวกันเพื่อรับซื้อผลผลิตกาแฟจากสมาชิก แต่ของถ้ำสิงห์เรารวมกลุ่มกันเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟ และสอนให้สมาชิกทุกคนทำกาแฟที่มีคุณภาพ โดยทางกลุ่มจะรับซื้อเมล็ดสดเท่านั้น เพราะเราต้องการคัดคุณภาพเมล็ด โดยเมื่อได้เมล็ดกาแฟมา ก็จะเอาเมล็ดสุกสีแดงไปลอยน้ำ เพื่อแยกเมล็ดเสียออก พอได้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพแล้ว ก็จะนำไปเข้าเครื่องสีเปลือกนอกออก แล้วนำไปอบที่โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบความชื้น แล้วก็นำไปบ่มไว้ในโกดังที่มีอากาศถ่ายเทอีกอย่างน้อย 1 ปี ก่อนนำมาสีเปลือกกะลาเพื่อคัดแยกขนาดของเมล็ด แล้วนำไปคั่วด้วยเครื่อง ที่จะมีการควบคุมอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมจนได้กาแฟคั่วตามมาตรฐาน” นิคม อธิบายถึง “กระบวนการผลิตกาแฟคุณภาพของบ้านถ้ำสิงห์” ให้เราฟัง

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

ก่อนจะบรรยายถึง “รสชาติกาแฟบ้านถ้ำสิงห์” ว่า เมื่อนำกาแฟที่ผ่านกระบวนการข้างต้นมาชง กาแฟที่ได้จะมีรสเข้ม หอม ไม่มีรสเปรี้ยว ซึ่งการแก้โจทย์ตรงนี้ทำให้ตอบสนองความต้องการของคอกาแฟ หรือผู้บริโภคทั่วไปได้มากขึ้น จนทำให้กาแฟบ้านถ้ำสิงห์มีคาแรกเตอร์ต่างจากกาแฟที่อื่น ๆ …พร้อมกันนี้เขายังบอกว่า ที่ต้องยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อทำทุก ๆ ขั้นตอนให้ดีที่สุดนั้น เป็นเพราะสมาชิกทุกคนของกลุ่มต้องการสร้างกาแฟโรบัสต้าที่ดีที่สุด เพราะทุกคนต้องการเห็น จ.ชุมพร เป็นเสมือนแบรนด์ผู้นำของกาแฟโรบัสต้า หรือเมื่อนึกถึง จ.ชุมพร ก็ต้องนึกถึงกาแฟโรบัสต้า และแน่นอนเมื่อนึกถึงกาแฟโรบัสต้า ก็ต้องนึกถึงกาแฟถ้ำสิงห์ ในฐานะที่เป็นกาแฟโรบัสต้าที่ดีที่สุดของจังหวัดนี้

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์สมาชิกกลุ่มสาธิตการดริปกาแฟ

“ตรงนี้คือสิ่งที่เราตั้งใจทำ โดยจะเห็นว่ากระบวนการที่เราทำ ทำให้กลุ่มได้ GI ในเรื่องกระบวนการจัดการเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ไม่เหมือนใคร โดยไม่ได้ใช้ GI ในเรื่องของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” นิคม ขยายความเรื่องนี้ ก่อนจะบอกเล่าต่อไปว่า ทางกลุ่มจะรับซื้อเมล็ดกาแฟสดจากสมาชิก ในราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เพื่อจูงใจชาวบ้านให้หันมาปลูกกาแฟกันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ได้หันมาปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น จนพื้นที่ปลูกขยายกลายเป็น 1,200 ไร่ แต่ก็มาเจอกระแสทุเรียนในระยะต่อมา จึงทำให้พื้นที่ปลูกกาแฟหดมาเหลืออยู่ที่ราว ๆ 800 ไร่

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

ประธานกลุ่มคนเดิม บอกว่า ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟถ้ำสิงห์มีสมาชิกประมาณ 650 คน โดยได้ดำเนินธุรกิจมา 7 ปีแล้ว จนเรียกได้ว่าวันนี้ทางกลุ่มเติบโต และขยายเป็นธุรกิจแบบครบวงจรแล้ว เพราะมีตั้งแต่การปลูก การแปรรูป การจำหน่าย และการสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา โดย “กาแฟถ้ำสิงห์” ไม่ได้ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง แต่ขายผ่านศูนย์ OTOP ที่ทางกลุ่มจัดสร้างขึ้นเองด้วยทุนของชุมชน รวมถึงขายผ่านโซเชียลอย่างทางเฟซบุ๊กด้วย

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

“พอถึงช่วงสิ้นปี กลุ่มก็จะปันผลให้สมาชิกราว 70% จากรายได้สุทธิของกลุ่ม นอกจากนั้นยังนำลูกหลานของคนในชุมชนประมาณ 15 คนให้มาทำงานที่กลุ่มด้วย โดยจ่ายค่าตอบแทน คิดรวม ๆ ก็ตกเดือนละ 300,000 บาท นอกจากนั้น เด็กที่พ่อแม่ทำงานที่นี่ ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เราก็รับให้มาทำงานพาร์ทไทม์ โดยจะจ่ายค่าตอบแทนในอัตราค่าแรงขั้นต่ำ” เขาเล่าให้ฟังถึงแนวทางส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เสริมให้กับลูกหลานชุมชนบ้านถ้ำสิงห์

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์พาผู้บริหาร ธ.ก.ส. เยี่ยมชม

นิคม ยังบอกอีกว่า ปัจจุบันกาแฟเริ่มกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชนถ้ำสิงห์อีกครั้ง หลังจากมีคนสนใจปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากการดูแลกาแฟให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานแล้ว นิคมยังย้ำว่า สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยกับการปลูกกาแฟก็คือ “การบริหารจัดการน้ำในชุมชน” เพราะตัวเขามองว่า อาชีพเกษตรกร…ถ้าไม่มีน้ำคือตายอย่างเดียว

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

“ที่นี่เราจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เอง ซึ่งธนาคารน้ำใต้ดินนี้เปรียบเสมือนการฝากน้ำไว้กับดิน โดยในช่วงฤดูฝนที่น้ำมีมาก แทนที่จะปล่อยน้ำไหลทิ้งตามธรรมชาติ ก็นำมาฝากไว้กับดิน เมื่อต้องการใช้ ก็สูบขึ้นมา”

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์นิคม กับคณะผู้บริหาร ธ.ก.ส.

และนี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่ชุมชนแห่งนี้ร่วมกันนำมาใช้แก้ปัญหา ทั้งนี้ กับคำถามที่ว่าทางกลุ่มมีเป้าหมายที่จะมีการขยายเพิ่มขึ้นอีกไหม? นิคม ประธานกลุ่ม ได้ตอบคำถามนี้ว่า “สิ่งที่ทุกคนคิดตรงกันคือ ต้องพยายามพัฒนาฝีมือ และทำยังไงก็ได้ให้กาแฟของเราไปอยู่ในใจของผู้บริโภค โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องทำกาแฟที่พิเศษ แต่ทำกาแฟที่สะอาด ที่คนดื่มแล้วปลอดภัย ส่วนที่ถามว่าจะขยายเพิ่มไปมากกว่านี้มั้ย ผมมองว่า การที่ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แค่นี้ก็เป็นที่พอใจแล้ว เพราะสำหรับผม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านมีอาชีพ มีรายได้ และทำให้กาแฟถ้ำสิงห์ฟื้นชีพกลับมามีชีวิตอีกครั้งได้สำเร็จ ก็พอใจแล้ว”

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

นิคม ประธาน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ บอกกับ “ทีมวิถีชีวิต” ด้วยว่า สำหรับบ้านถ้ำสิงห์นั้น ไม่ได้ขายกาแฟออกเป็นวัตถุดิบไปภายนอก แต่จะแปรรูปขาย ทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มถึงปีละประมาณ 21,000,000 บาท สมาชิกก็จะได้เงินปันผลมากถึง 70% จากรายได้สุทธิ โดย นิคม ย้ำทิ้งท้ายว่า “ถ้าต้องการจะทำให้กลุ่มเกษตรกรเกิดความเข้มแข็ง ชุมชนก็ต้องรู้จักการรวมตัว และสร้างแบรนด์ เพราะจะทำให้สินค้าไม่ไปล้นตลาด โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น เกิดจากเกษตรกรเอาแต่ขาย แต่ไม่ได้คิดเรื่องแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมถึงคิดแต่ปลูกอย่างเดียว แต่ไม่เคยศึกษาตลาดเลย ซึ่งเมื่อใดที่สินค้าไม่ล้นตลาด เรื่องราคาก็จะไม่ตกต่ำ…และการถูกกดราคาก็จะไม่มี”.

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์ฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธ.ก.ส.

แนวคิดอัปเกรด ‘ทำน้อยได้มาก’

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

ฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวถึง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ดี ที่มีกระบวนการผลิตพิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่คัดเลือกสายพันธุ์กาแฟ การเก็บผลผลิต การตาก การสี การคั่ว ทำให้กาแฟถ้ำสิงห์มีรสเข้มข้น กลิ่นหอม ไม่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในกระบวนการผลิตกาแฟ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตากกาแฟ ใช้เครื่องจักรคั่วเมล็ดกาแฟ ทั้งยังมีการแปรรูปเป็นกาแฟรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กาแฟถ้ำสิงห์มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ที่สำคัญคือ นอกจากผลิตกาแฟแล้ว ทางกลุ่มยังมองไปถึงเรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากร” ด้วย อาทิ การสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อใช้กักเก็บน้ำฝนช่วงฤดูฝน ด้วยการเจาะท่อลงพื้นดิน และขุดบ่อบาดาลเพื่อให้น้ำฝนที่ตกมาถูกดูดซับผ่านท่อและพื้นดินลงไปในชั้นใต้ดิน ก่อนไหลไปรวมที่บ่อบาดาลของชุมชน ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี ซึ่งถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าและสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวเสริมอีกว่า พันธกิจ ธ.ก.ส. นอกจากสนับสนุนเงินทุน สิ่งที่ ธ.ก.ส. กำลังยกระดับคือ “การพัฒนาคุณภาพ” และภายใต้การเป็นกลางทางการเกษตร ธ.ก.ส. เริ่มจากให้เงินทุนก่อน ถัดมาเป็นการนำองค์ความรู้ใหม่เข้ามาให้ใช้ และสุดท้ายที่กำลังทำคือ “ส่งเสริมการตลาด” เพราะอยากให้เกษตรกรก้าวข้ามการขายแค่วัตถุดิบ เพื่อไม่ต้องเน้นขายแบบปริมาณ แต่เน้นคุณภาพ ภายใต้แนวคิด “ทำน้อยได้มาก”

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

“สิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำ ก็พยายามทำให้กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ เกิดความเข้มแข็งแบบบ้านถ้ำสิงห์ แล้วให้กระจายไปทั่วประเทศ โดยพยายามที่จะบอกกลุ่มเกษตรกรเสมอ ๆ ว่า ไม่ควรพาเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบธุรกิจ เพราะจะถูกปลาตัวใหญ่กินหมด แต่ให้เขาโตเป็นฝูงปลา ตัวเล็ก ๆ แต่เยอะ ๆ จะดีกว่า” ทาง ฉัตรชัย ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ระบุ.

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์

บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน

หัวไวใจสู้จึงซัคเซสฟื้นฟูของดีวิถีชุมชนถ้ำสิงห์ชุมพรแก้พื้นที่สีแดงสู่สีกาแฟทำเงินเดลินิวส์
本文地址:http://realhistorychan.com/html/45f599862.html
版权声明

本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。

热门文章

全站热门

Redirecting...

"กวาง ดวงฤทัย"คว้า"กระต่าย พรรณนิภา" ประกบในเพลง"ซื่อสัตย์กับเจ้า ซื้อเหล้าดีกว่า" | เดลินิวส์

"มินนี่"พัฒนาตัวเองไม่มีที่สิ้นสุด หวังเพลงทำงานโดนใจแฟนๆในทุกชิ้นงาน | เดลินิวส์

คนไทยเจ๋ง คว้าเหรียญทองงานวิจัยระดับโลก | เดลินิวส์

"ปอดเหล็ก" นับพันเตรียมลุยศึก "เดอะ รีเจ้นท์ดารี่ เทรล ซีรี่ย์" 2 สนาม ที่เขาไม้แก้ว+หัวหิน | เดลินิวส์

ปีนี้เหล่า AI-Humanoid ช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืน แล้วเทคโนโลยีใหม่ ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง? | เดลินิวส์

ปิดหัว-ปิดท้ายซอย! ตร.พัทยาปราบแว้นคูเวต ก่อกวนขี่ซิ่ง ยกล้อ เบิร์นยาง | เดลินิวส์

Gen Z เปลี่ยนน้ำตาจาก Toxic Love เป็นแรงผลักสู่ความสำเร็จ

友情链接