【อู๊ดพลังใบ】กฟผ.ลุยศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ SMR เร่งทำความเข้าใจ-สอนในรร. ชูพลังงานสะอาด สร้างความมั่นคงปท. | เดลินิวส์
มองว่า ในอนาคตจะมาเป็นตัวเปลี่ยนเกมพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ความมั่นคง ไร้คาร์บอน มีต้นทุนแข่งขันได้ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ แต่สิ่งสำคัญที่สุด จะต้องทำอย่างไรให้ประชาชน เข้าใจ และเชื่อมั่นโรงไฟฟ้า SMR หลังจากหลายคนยังมีภาพจำภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ประเทศญี่ปุ่น
กฟผลุยศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์SMRเร่งทำความเข้าใจสอนในรรชูพลังงานสะอาดสร้างความมั่นคงปทเดลินิวส์นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขยายความว่า ทั่วโลกต่างมีความต้องการไฟฟ้าสีเขียวเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องเสถียรภาพไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอด ซึ่งการจะทำให้จ่ายไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ต้นทุนจะค่อนข้างสูง กฟผ. จึงมองหาพลังงานทางเลือกใหม่ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจและบรรจุไว้ในแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small Modular Reactor) เพราะตอบโจทย์ทั้งความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีต้นทุนค่าไฟฟ้าที่แข่งขันได้ โดยออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้มีขนาดเล็กลง ออกแบบให้ระบบเชื้อเพลิงและระบบผลิตไอนํ้าอยู่ภายในโมดูลเดียวกัน ลดความซับซ้อนของระบบทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น สามารถหยุดการทำงานได้เองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน มีระบบระบายความร้อนไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้า
กฟผลุยศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์SMRเร่งทำความเข้าใจสอนในรรชูพลังงานสะอาดสร้างความมั่นคงปทเดลินิวส์อีกทั้งแร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงที่มีจำนวนมาก ราคาตํ่า ใช้ปริมาณน้อยแต่ให้พลังงานความร้อนมหาศาล ซึ่งสามารถผลิต
ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานถึง 24 เดือน จึงจะหยุดเดินเครื่องเพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงบางส่วน นอกจากนี้การออกแบบที่มีความปลอดภัยมากขึ้นทำให้พื้นที่ในการจัดเตรียมแผนฉุกเฉินลดลงด้วย โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ อาจมีรัศมีถึง 16 กิโลเมตร ขณะที่โรงไฟฟ้า SMR มีรัศมีน้อยกว่า 1 กิโลเมตร เท่านั้น
“การศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้า SMR ยังต้องใช้เวลาในการศึกษา และทำความเข้าใจอีกระยะ กฟผ.ก็ต้องบริหารจัดการสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้า สัดส่วนของพลังงานทดแทนเพื่อรองรับ ซึ่งการเพิ่มพลังงานทดแทนนั้น จะต้องบริหารจัดการร่วมกัน ทั้งพลังงาน
จากลม จากแสงอาทิตย์ พลังงานนํ้า การใช้แบตเตอรี่เพื่อจัดเก็บพลังงาน และการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน โดยการดำเนินการด้านสมาร์ทกริดนั้น เราดูแลทั้งในส่วนของการตอบสนองด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า เช่น การปรับเปลี่ยนเวลาการผลิตของภาคเอกชน จากช่วงที่คนใช้ไฟฟ้าจำนวนมากไปยังช่วงที่คนใช้ไฟฟ้าน้อย หรือ จูงใจให้คนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเวลาที่คนใช้ไฟน้อย ซึ่งจะช่วยลดการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงราคาสูง”
สำหรับโรงไฟฟ้า Linglong One ในมณฑลไห่หนานสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นโรงไฟฟ้า SMR บนพื้นดินเชิงพาณิชย์รุ่นแรกของโลก ซึ่ง กฟผ. มองว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจและต้องเร่งศึกษา รวมถึงเทคโนโลยี SMR ของประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีการพัฒนามากกว่า 80 แบบ จาก 18 ประเทศทั่วโลก ต้องนำมาเปรียบเทียบว่าเทคโนโลยีใดดีที่สุดและเหมาะสมกับประเทศไทย ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งหารือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อบรรจุอยู่ในหลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
กฟผลุยศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์SMRเร่งทำความเข้าใจสอนในรรชูพลังงานสะอาดสร้างความมั่นคงปทเดลินิวส์ส่วนการประเมินเงินลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า SMR คาดว่าจะสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประมาณ 2-3 เท่า แต่เนื่องจากโรงไฟฟ้า SMR มีอายุการใช้งาน 60 ปี และมีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ตํ่ามาก ดังนั้นหากคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุของโรงไฟฟ้าก็ถือว่าใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และในอนาคตมูลค่าการลงทุนโรงไฟฟ้า SMR ก็จะถูกลงอีก ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีราคาที่แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น.
กฟผลุยศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์SMRเร่งทำความเข้าใจสอนในรรชูพลังงานสะอาดสร้างความมั่นคงปทเดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/html/40a599414.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。