【ไฮโลออนไลน์พื้นบ้าน】ลอรีอัล กรุ๊ป เชิดชูเกียรติ 3 นักวิจัยสตรีไทย โครงการทุน “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2567 | เดลินิวส์

เวลาว่าง 2024-12-03 09:45:12 128

ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย เดินหน้าผลักดันบทบาทของนักวิจัยสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ด้วยการมอบทุนวิจัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 22 พร้อมประกาศรายชื่อ 3 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2567 มอบทุนวิจัย 250,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัยสตรีที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น สร้างคุณูปการแก่แวดวงวิทยาศาสตร์ มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนสังคมทั้งในประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของลอรีอัลซึ่งมุ่งสร้างความงามที่ขับเคลื่อนโลก ผ่านการสนับสนุนงานวิจัยและเชิดชูบทบาทสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสังคมสู่ความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา (ขวา) และ นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรและสื่อสารสัมพันธ์ ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้าย) 

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจวบจนก้าวเข้าสู่ปีที่ 115 ในปีนี้ ลอรีอัล กรุ๊ป ในฐานะบริษัทความงามระดับโลก เชื่อว่าความงามมีรากฐานมาจากวิทยาศาสตร์ เราตระหนักดีว่านวัตกรรมวิทยาศาสตร์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกใบนี้ อย่างไรก็ดี บทบาทระดับสูงของสตรีในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยยังคงต้องมีการผลักดันอีกมาก ในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น นับแต่ตั้ง พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ได้รับรางวัลอยู่เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น แม้จะมีผู้หญิงอยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์ไทยเป็นจำนวนเทียบเท่ากับผู้ชายก็ตาม เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโลกต้องการวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ต้องการสตรี ลอรีอัลจึงเดินหน้าเชิดชูเกียรติผลงานวิจัยอันโดดเด่นของสตรีผ่านโครงการ “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายงานวิทยาศาสตร์ และพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถเปล่งประกายได้ในแบบของตนเอง”

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์

ทุนวิจัยฯ 3 ทุน มอบแก่นักวิจัยสตรี 3 ท่าน จาก 3 สถาบัน ในสองสาขา

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์

สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จำนวน 1 ท่าน

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับงานวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาสารไวแสงและระบบนาโนนำส่ง เพื่อเป็นทางเลือกแบบแม่นยำสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง”

สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 2 ท่าน

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับงานวิจัยหัวข้อ “การเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับงานวิจัยหัวข้อ “การใช้ประโยชน์ก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการเร่งปฏิกิริยาเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนมุ่งสู่ Net Zero Emission”3 นักวิจัยสตรีผู้ได้รับทุนในโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2567

3 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการฯ ประจำปี 2567

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญญานี คำแก้ว จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กล่าวว่า “แม้หลายทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าด้านการพัฒนายาและอุปกรณ์การรักษาด้วยแสงเพื่อรักษามะเร็ง แต่ยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่อาจใช้ทางคลินิกได้อย่างแพร่หลาย ดิฉันและทีมวิจัยจึงเล็งเห็นว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งนั้น การปรับปรุงโครงสร้างของสารไวแสงและระบบนำส่งสารไวแสงไปยังเซลล์มะเร็งมีความจำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ซึ่งทำได้โดยการพัฒนาตัวนำส่งที่มุ่งเป้ามะเร็งร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงเฉพาะที่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นโดยมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง ทางทีมวิจัยเราจึงมุ่งใช้เทคนิค “การบำบัดด้วยโฟโตไดนามิก” (PDT) และ “การบำบัดด้วยความร้อนจากแสง” (PTT) ร่วมกับวัสดุนาโนที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเน้นไปที่วิธีพัฒนาและสังเคราะห์สารไวแสงที่ตอบสนองต่อแสงได้อย่างดีเยี่ยม และมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงเท่านั้น โดยสารจะไม่มีพิษต่อเซลล์มะเร็งเมื่อไม่ได้ถูกกระตุ้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงเริ่มจากการสังเคราะห์สารประกอบ พิสูจน์โครงสร้าง และทดสอบสมบัติทางแสง จากนั้นจึงพัฒนาตัวนำส่งระดับนาโนที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ โดยควบคุมให้อนุภาคมีขนาดเหมาะสมต่อการมุ่งเป้าเซลล์มะเร็ง แล้วจึงทดสอบในระดับเซลล์มะเร็งเทียบกับเซลล์ปกติในระดับห้องปฏิบัติการ โดยเทียบระหว่างแบบใช้แสงกระตุ้นและไม่ใช้แสงกระตุ้น สุดท้ายระบบนำส่งสารไวแสงจะถูกนำไปทดสอบประสิทธิภาพในระดับสัตว์ทดลอง เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบร่างกาย ทั้งเมื่อถูกกระตุ้นและไม่ถูกกระตุ้นด้วยแสง ซึ่งผลการทดลองล่าสุดพบว่าทีมผู้วิจัยสามารถพัฒนาสารไวแสงหลายกลุ่มได้สำเร็จ โดยพิสูจน์ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับเซลล์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ สารแต่ละกลุ่มมีความจำเพาะต่อความยาวคลื่นแสงที่ใช้กระตุ้นและชนิดของมะเร็งต่างกัน ทำให้มีตัวเลือกหลากหลายในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังพัฒนาระบบนำส่งสารไวแสงเหล่านี้ให้ไปสะสมที่ก้อนมะเร็งได้อย่างจำเพาะได้สำเร็จ และได้พิสูจน์ประสิทธิภาพการรักษามะเร็งในระดับสัตว์ทดลองแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดให้สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงไม่เพียงสร้างองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์การออกแบบโมเลกุลอินทรีย์ที่ไวแสงและการพัฒนาระบบนำส่งระดับนาโน แต่ยังเปิดโอกาสสู่ความร่วมมือและการต่อยอดการนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมายเพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษามะเร็ง อีกทั้งมีส่วนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็ง การตรวจคัดกรองมะเร็ง และเข้ารับการรักษามะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษามะเร็งในประเทศไทยอีกด้วย”

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์

ดร.ปองกานต์ จักรธรานนท์ จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจากภาคพลังงานและภาคการผลิต เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) จึงเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาเพื่อนำพาประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าปฏิกิริยารีดักชันเชิงเคมีไฟฟ้าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2RR) คือปฏิกิริยาที่สามารถผลิตสารเคมีมูลค่าสูงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายหลายชนิด แต่การผลิตสารเคมีเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด คือมีกลไกซับซ้อน ใช้พลังงานสูง และมักประสบปัญหาการเลือกเกิดปฏิกิริยาที่ต่ำ ทั้งนี้ ในระบบปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารเคมีเชิงไฟฟ้า เซลล์ไฟฟ้าที่ใช้ทำปฏิกิริยาประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือขั้วแอโนด (Anode) และขั้วแคโทด (Cathode) ปฏิกิริยารีดักชันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิดขึ้นที่ขั้วแคโทด โดยระหว่างเกิดปฏิกิริยา ขั้วแอโนดจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำและเกิดเป็นก๊าซออกซิเจน (OER) เป็นปฏิกิริยาร่วม ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้พลังงานสูง งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเป้าพัฒนาเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถทำปฏิกิริยาทั้งสองได้อย่างควบคู่กัน เพื่อเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการออกซิไดซ์ชีวมวลจากอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมกระดาษ ให้กลายเป็นวัสดุและสารเคมีที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วย โดยใช้วิธีพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความจำเพาะสูงสำหรับกระบวนการ CO2RR และทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวในเซลล์ไฟฟ้าที่สามารถขยายขนาดได้ จากนั้นปรับปรุงคุณสมบัติของตัวเร่งให้ผลิตสารเคมีได้สูง เสถียร และทนทานต่อสิ่งเจือปนในสารตั้งต้น รวมไปถึงการคัดเลือกชีวมวลที่เหมาะกับการทำปฏิกิริยาเคมีเชิงไฟฟ้า พัฒนาระบบการออกซิไดซ์ชีวมวล จากนั้นจึงพัฒนาระบบการทำปฏิกิริยาแบบควบคู่ระหว่าง CO2RR และการออกซิไดซ์ชีวมวล แล้วศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ พร้อมประเมินวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยี เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการเร่งปฏิกิริยาเชิงเคมีไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และสามารถขยายขนาดการผลิตสู่ระดับโรงประลอง (pilot scale) เพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมได้ และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมหนัก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมเคมีและพลังงานของประเทศไทย”

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ ประจำปี 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพร ดอนไพร จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ได้รับทุนสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ประเทศไทยจึงได้แสดงเจตจำนงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 ปัจจุบันหลายภาคส่วนจึงพยายามใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน โดยการเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกทั้งสองชนิดนี้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงผ่านกลไกการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่า ปฏิกิริยาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ “ปฏิกิริยาการแตกตัวของมีเทน” และ “ปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง” เพราะผลิตทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดได้พร้อมกับใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษา 3 ส่วนด้วยกัน คือ (1) การใช้ประโยชน์จากของเสียเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบรอบสอง (Secondary raw material) โดยนำเถ้าชานอ้อยซึ่งเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตน้ำตาลทรายมาสังเคราะห์เป็นโซเดียมซิลิเกต พร้อมศึกษาองค์ประกอบและลักษณะโครงสร้างของซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าชานอ้อย (2) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและผลิตภัณฑ์คาร์บอน (3) การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจำพวกไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ผ่านปฏิกิริยาดรายรีฟอร์มมิ่ง งานวิจัยนี้จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้กลไกนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดมลพิษจากกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการกำจัดกากของเสีย สร้างการผลิตที่ยั่งยืน สะอาด และมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือต้องการนำก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่สามารถนำของเสียเหลือทิ้งจำพวกเถ้าชานอ้อยมาเพิ่มมูลค่า สร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตอบโจทย์เร่งด่วนของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน”

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์

ทั้งนี้ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” หรือ For Women in Science ริเริ่มขึ้นในปี 2540 โดย มูลนิธิลอรีอัล ด้วยความร่วมมือจากยูเนสโก แต่ละปีได้สนับสนุนนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่มากกว่า 250 ท่าน ในโครงการระดับประเทศและระดับภูมิภาคทั่วโลก และได้มอบทุนเกียรติยศระดับนานาชาติแก่นักวิจัยสตรีระดับ Laureates ไปแล้วมากกว่า 100 ท่าน ซึ่งมีถึง 7 ท่าน ที่ก้าวสู่ความสำเร็จได้รับรางวัลโนเบล สำหรับในประเทศไทย โครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” มอบทุนวิจัยทุนละ 250,000 บาท ให้กับนักวิจัยสตรีที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ลอรีอัล กรุ๊ป ในประเทศไทย ได้ดำเนินงานโครงการมาเป็นปีที่ 22 โดยมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 87 ท่าน จากมากกว่า 20 สถาบัน

ลอรีอัลกรุ๊ปเชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทยโครงการทุนเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ประจำปีเดลินิวส์
本文地址:http://realhistorychan.com/html/27b599426.html
版权声明

本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。

热门文章

全站热门

'เจเจ กฤษณภูมิ'เปิดใจหลังทำธุรกิจ โชคดีมี'ต้าเหนิง'คอยดึงสติลั่นถ้าไม่มีเขาผมคงตาย! | เดลินิวส์

Endpresso ปณิธานหวานน้อย | เดลินิวส์

'จันจิ'ฟาดกลับคนแซะไม่มีงานทำ-เป็นแฟน 'มาริโอ้'ดี๊ด๊ามาก เผยเคยโดนด่าจนฝันร้าย! | เดลินิวส์

นับถอยหลังเทศกาลสีสันกาสะลอง 2024 ชม “ต้นคริสต์มาสหมอกพันวา” | เดลินิวส์

ธอส. จัด 7 มาตรการ ช่วยผู้ประสบภัยอุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ ลดภาระผ่อนชำระ | เดลินิวส์

Bitkub Exchange คว้ารางวัล "Customer Experience" เวที CC-APAC Regional Awards 2024 | เดลินิวส์

Redirecting...

ผมผิดตรงไหนที่ยังไม่แก่! "คิงคาซู" เตรียมค้าแข้งฤดูกาลที่ 40 ในวัย 57 ปี | เดลินิวส์

热门文章

友情链接