【ไทยคิวบิค】ความสำคัญของภูพระบาท ปัญหาของทวารวดีอีสาน และมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ครอบคลุม 2024-09-19 09:42:37 8112

ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีอีกชื่อที่คนไทยหลายคนไม่ค่อยคุ้นเคย ไม่ต่างจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้รับมรดกโลกไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะทั้งสองแหล่งไม่อยู่ในเนื้อหาแกนหลักของประวัติศาสตร์ชาติไทย

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

อุดรธานีเป็นอู่อารยธรรมเก่าแก่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยและโลก เชื่อว่าแทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักคือบ้านเชียง เพราะอยู่ในแบบเรียน และเห็นผ่านสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ อีกมากมาย

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

เหตุผลที่ทำให้บ้านเชียงเป็นมรดกโลกได้นั้น เพราะในยุคหนึ่งเชื่อว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งกำเนิดโลหกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก มีอายุราว 6,000 ปี อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าของการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา จึงทำให้ค่าอายุลดลงเหลือเพียง 2,100 ปีก่อนคริสตกาลเท่านั้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ในส่วนของภูพระบาทนั้นมีเหตุผลหลายประการที่ควรเป็นมรดกโลก และต่อให้ไม่ได้มรดกโลก ภูพระบาทก็มีความสำคัญมากในแง่ของการเป็นสถานที่ที่สะท้อนความเชื่อทางศาสนาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงประวัติศาสตร์เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้ ซึ่งช่วยให้เข้าใจภูมิวัฒนธรรม (Cultural Landscape) ที่ดีมากแห่งหนึ่ง ในที่นี้ผมมีประเด็น 4 เรื่องที่คิดว่าควรกล่าวถึงและเสนอด้วยดังนี้

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติเรื่องแรก ภูพระบาทเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ก่อนรับพระพุทธศาสนา

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ผมคิดว่าก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา คนในยุคนั้นคงมองว่าภูพระบาทเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เหตุผลเพราะบนภูพระบาทมีหินทรายธรรมชาติที่ถูกกัดเซาะจนมีลักษณะเป็นแผ่นหินที่ซ้อนอยู่บนเสาหิน รูปทรงคล้ายกับโต๊ะหรือเห็ด ในที่นี้ขอเรียกว่า ‘เสาหินรูปโต๊ะ’ และ ‘โต๊ะหิน’ ความแปลกประหลาดนี้เองคงทำให้คนในยุคนั้นคิดว่าเสาหินพวกนี้สร้างขึ้นโดยผีสางเทวดาที่มีอำนาจ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้หินรูปโต๊ะบางแห่งบนภูพระบาทมีภาพเขียนสีอยู่ด้วย ภาพเขียนสีพวกนี้ใช้สีแดงเป็นหลัก แบ่งภาพได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาพวาดของสิ่งมีชีวิตเป็นภาพเหมือน และภาพวาดเชิงสัญลักษณ์

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ภาพวาดในกลุ่มที่เป็นสิ่งมีชีวิตนี้มีภาพคน มือ และวัว ภาพมือและคนอาจบ่งบอกถึงการร่วมแรงกันทำงาน ภาพวัวอาจบ่งบอกถึงการล่าสัตว์ สังเกตได้ว่าภาพวัวที่พบที่ภูพระบาทนี้เป็นวัวแบบไม่มีหนอก แสดงว่าเป็นวัวพื้นเมือง (สายพันธุ์ทอรีน) ไม่ใช่วัวแบบอินเดีย อาจกำหนดอายุเบื้องต้นได้ว่าภาพวัวพวกนี้คงมีอายุก่อน 2,500-2,000 ปีมาแล้ว

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ภาพเขียนสีรูปคนที่ถ้ำคน ภูพระบาท

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

(อ้างอิง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), https://archaeology.sac.or.th/archaeology/502)

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

อีกกลุ่มคือภาพวาดเชิงสัญลักษณ์ ที่น่าสนใจคือกู่นางอุสาและโนนสาวเอ้ ซึ่งวาดเป็นภาพลายเส้นที่เราไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ ข้อมูลทางชาติพันธุ์ของชาวแซน (San) ในแอฟริกาอธิบายว่า ภาพเขียนสีเป็นวิธีการจับพลังงานในอีกโลกหนึ่งที่อยู่หลังผนังหิน ซึ่งผู้ที่เห็นนั้นก็คือหมอผีที่จับสิ่งนั้นขึ้นมา แล้วเอาพลังที่กลายเป็นภาพนั้นมารักษาผู้ป่วย ขอฝน หรือล่าสัตว์

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ภาพเขียนสีใกล้กับกู่นางอุสา

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

แต่ที่น่าสนใจด้วยคือ ภาพลายเส้นบนภูพระบาทที่กู่นางอุสาและโนนสาวเอ้นี้ ผมเชื่อว่าอาจมีความสัมพันธ์กับลวดลายสีแดงบนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง เพราะทำเป็นลายเส้นคดโค้งขนานกันไปมา ภาพพวกนี้จึงอาจสื่อถึงพลังงานบางอย่าง อาจเป็นขวัญ มิ่ง หรือแนน

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ปรากฏการณ์วาดภาพเขียนสีบนเสาหินหรือโต๊ะหินคล้ายกันนี้พบได้หลายที่ เช่น ในอินเดีย จีน และอีกหลายประเทศ นอกจากเทคนิคการเขียนสียังพบเทคนิคการใช้หินกะเทาะลงไปให้เป็นรูปลอย (Petroglyph) ซึ่งเท่าที่เห็นในไทยอย่างหลังจะไม่นิยมสักเท่าไร เหตุผลของการวาดภาพลงบนหินพวกนี้ ถ้าดูจากข้อมูลชาติพันธุ์ของชนเผ่าในปัจจุบันก็อาจสอดคล้องกับแนวคิดของชาวแซนคือ ภาพวาดบนหินคือการดึงพลังจากอีกโลกหนึ่งมายังโลกปัจจุบัน

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

สำหรับปกติแล้วหินตั้งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์จะสร้างขึ้นด้วยหลายวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น เป็นสถานที่ฝังศพผู้นำ หรือเป็นสถานที่รำลึกถึงบรรพบุรุษ ในกรณีของหินธรรมชาติที่มนุษย์ให้ความหมายใหม่นั้นเป็นเรื่องยากที่จะสันนิษฐาน แต่ก็อาจเกี่ยวข้องกับการรำลึกถึงบรรพบุรุษเช่นกัน กรณีของเสาหินหรือโต๊ะหินที่ภูพระบาทอาจถูกใช้สำหรับการรำลึกถึงบรรพบุรุษ (Memorial Place) หรือมองว่าเป็นวัตถุที่ใช้สื่อกับอีกโลกหนึ่ง

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติเรื่องที่สอง การผสมผสานความเชื่อเดิมเข้ากับพระพุทธศาสนา

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เมื่อมีการรับศาสนาพุทธเข้ามา ส่งผลทำให้มีการสร้าง ‘เสมา’ หรือ ‘สีมา’ ขึ้น ตามความหมายเสมาคือเขตหรือแดนที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม ขนาดเล็กสุดต้องไม่น้อยกว่าพระสงฆ์ 21 รูปสำหรับนั่งทำพิธีได้ ซึ่งในพระวินัยปิฎกกำหนดให้เสมาเป็น ‘นิมิต’ (สัญลักษณ์) มี 8 อย่าง ได้แก่ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำนิ่ง

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ใบเสมาจึงตรงกับนิมิตประเภทศิลา แต่จะเห็นได้ว่าในพระวินัยปิฎกก็ไม่ได้ระบุว่าต้องทำเป็นรูปร่างหน้าตาแบบใด แต่ปรากฏว่าในอีสานและเขตลุ่มน้ำโขงเช่นในเวียงจันทน์และสะหวันนะเขตนิยมทำเป็นรูปใบเสมารูปทรงคล้ายใบไม้แหลม ธรรมเนียมการทำใบเสมาแบบนี้ไม่พบในอินเดียและลังกา ดังนั้นจึงเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

เท่าที่มีการสำรวจใบเสมาที่พบในเขตลุ่มน้ำชี มูล และโขง (พบมากที่สุดในลุ่มน้ำชี) พบว่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ แบบใบแหลม แบบแท่ง (มีทั้งทรงกระบอกกลมและทรงเหลี่ยม) และแบบหินธรรมชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

กลุ่มหินธรรมชาตินี้น่าสนใจ เพราะอาจมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมหินตั้งที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ เห็นได้จากในเขตเมืองซำเหนือ ประเทศลาว ซึ่งทำเป็นหินตั้งแผ่นแบนปลายแหลม ปัจจุบันคนพื้นเมืองในพื้นที่ยังบูชากันอยู่โดยถือว่าเป็นการบูชาเทพฮัตอัง (Hat Ang) ผู้มีหน้าที่ในการปกป้องผืนดิน (เจ้าที่)

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

หินตั้งที่เมืองซำเหนือ ประเทศลาว

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

(อ้างอิง: The Megalithic Portal, )

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ในไทยพบเช่นกันที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ที่ผู้เขียนขุดค้นและกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ 2,500 ปีมาแล้ว ก็พบหินบางก้อนที่ทำเป็นแผ่นปลายเกือบแหลมเช่นกัน ถึงอย่างนั้นยังไม่มีหลักฐานทางตรงที่บ่งบอกว่าใบเสมาพัฒนามาจากหินตั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยตรง เพราะรูปแบบของหินตั้งในลาวและในไทยไม่วางในตำแหน่ง 8 ทิศ แต่ทั้งหมดวางเป็นกลุ่มเท่านั้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

หากต้องการเข้าใจความเชื่อเรื่องการทำแผ่นหินล้อมรอบแกนหินแล้ว ปัจจุบันยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทำประเพณีแบบนี้อยู่ในลาวคือ กลุ่มชาติพันธุ์ ‘บรู’ พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) ที่แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งอธิบายว่าหินตรงกลางคือแกนของใจบ้าน หรือก็คือแกนกลางของจักรวาล

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

การปักหินตั้งของชาวบรู

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

(อ้างอิง: บูร เที่ยงคำ / Facebook, )

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ดังนั้นด้วยการที่มีประเพณีการทำใบเสมาปักล้อมรอบเสาหินรูปโต๊ะอย่างเป็นระเบียบทั้ง 8 ทิศบนภูพระบาท ซึ่งพบที่หอนางอุสา กู่นางอุสา ถ้ำฤๅษี เพิงหินนกกระทา คอกม้าน้อย วัดลูกเขย ถ้ำพระ และลานหินมณฑลพิธี ย่อมสะท้อนความสำคัญอย่างยิ่งยวดของภูพระบาทในฐานะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และสะท้อนการผสมผสานความเชื่อใหม่เข้ากับความเชื่อเก่า ซึ่งทำให้นึกถึงสังคมไทยทุกวันนี้ที่มีแกนความเชื่อแบบ ‘พุทธปนผี’

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

เป็นไปได้ว่าเสาหินรูปโต๊ะนี้คือรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ ดังเห็นได้จากโบราณสถานบางในเมืองวัฒนธรรมเสมา เช่น ที่พระธาตุยาคูที่เมืองฟ้าแดดสงยางที่กาฬสินธุ์ หรือเจดีย์บางองค์ที่เมืองเสมา นครราชสีมา ก็พบว่ามีการใช้ใบเสมาปักล้อมรอบ ดังนั้นเสาหินรูปโต๊ะจึงอาจเป็นการผสมความเชื่อเดิมแล้วสมมติให้กลายเป็นเจดีย์ภายใต้ความเชื่อแบบพุทธ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

นอกเหนือไปจากใบเสมาที่ปักล้อมรอบเสาหินรูปโต๊ะแล้ว ยังพบว่าเพิงผาบางแห่งมีการแกะสลักรูปพระพุทธรูปทั้งประทับนั่งและยืน โดยเฉพาะประทับยืนที่ทำวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์นั้นจะพบว่าเป็นรูปแบบร่วมกับพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีจากภาคกลาง อีกทั้งยังพบพระพุทธรูปศิลปะเขมร ล้านช้าง และสืบเนื่องมาจนถึงรัตนโกสินทร์อีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ส่วนศีรษะจะหักหายไป หลักฐานนี้จึงสะท้อนความต่อเนื่องของการใช้พื้นที่ภูพระบาทในฐานะพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นอย่างดี

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

พระพุทธรูปแบบทวารวดีและเขมรที่แกะสลักอยู่บริเวณโขดหิน

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติเรื่องที่สาม ใบเสมาพวกนี้ไม่ใช่ ‘ทวารวดีอีสาน’

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ใบเสมาพวกนี้เดิมทีเรียกว่า ‘ใบเสมาทวารวดีอีสาน’ เพราะเชื่อว่าเป็นของอิทธิพลทางศิลปะและการเมืองของอาณาจักรทวารวดีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ส่งขึ้นไปยังอีสาน เหตุผลที่คิดเช่นนั้นเพราะข้อจำกัดขององค์ความรู้ในยุคหนึ่งและเกิดจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผ่านจากยุคอาณานิคมที่ทำให้กำหนดลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นแกนของอำนาจทางการเมือง วัฒนธรรม และศาสนา ดังนั้นเมื่อรูปแบบศิลปกรรมของเสมาพวกนี้คล้ายกับทวารวดีในภาคกลาง จึงนำไปสู่ชื่อเรียกเช่นนั้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

กู่นางอุสาจะเห็นใบเสมาล้อมรอบ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเอกสารท้องถิ่นและเอกสารจีน รวมถึงหลักฐานอื่นๆ ประกอบ พบว่าในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังระบุว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นรัฐชื่อ ‘เหวินตาน’ (文單) ซึ่งได้ส่งบรรณาการไปยังจีนใน ค.ศ. 656-661, 717, 753, 771 และ 798 สะท้อนว่าเหวินตานเป็นรัฐอิสระ ไม่ใช่ทวารวดีจากภาคกลาง

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน เสนอว่า เมืองศูนย์กลางของเหวินตานน่าจะเป็นเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ทาซึโอะ โฮชิโน (Tatsuo Hoshino) ยืนยันว่าเหวินตานไม่ใช่เวียงจันทน์ตามที่เคยเชื่อกัน นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มิเชล เฟอร์ลัส (Michel Ferlus) เสนอว่า ‘เหวินตาน’ มาจากสันสกฤตว่า ‘มลูตาละ’ แปลว่า เมืองน้ำตาลโตนด

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ใบเสมาปักล้อมรอบเจดีย์ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ในขณะที่ใบเสมาในกลุ่มภูพระบาทนั้น ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ เสนอว่าอาจเป็นกลุ่มเมืองที่ในเอกสารจีนเรียกว่า ‘เต้าหมิง’ (道明) ซึ่งอาจมาจากภาษาตระกูลไท/ไตว่า ‘ท้าวเมือง’ ได้หรือไม่ และในเอกสารจีนระบุว่าเต้าหมิงเป็นเมืองในเครือข่ายของเหวินตาน

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องมีการศึกษาในเชิงภาษาศาสตร์เพิ่ม เพราะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 คนที่พูดภาษาในตระกูลไท/ไตยังไม่เคลื่อนย้ายลงมา อีกทั้งในภาพใหญ่ในช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-12 ดังกล่าว พบเฉพาะจารึกภาษามอญโบราณ ภาษาเขมรโบราณ สันสกฤต และบาลีเท่านั้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ถ้าข้อสันนิษฐานเรื่องตำแหน่งของเต้าหมิงถูกต้อง ภูพระบาทอาจเป็นศูนย์กลางของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรมลูตาละก็เป็นไปได้

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ดังนั้นเราควรเรียกวัฒนธรรมการทำใบเสมานี้ว่า ‘วัฒนธรรมเสมา’ หรือ ‘วัฒนธรรมสีมา’ อาจจะมีความเหมาะสมกว่า หรืออาจมีคำบ่งบอกเชิงพื้นที่ เช่น ‘วัฒนธรรมเสมาอีสาน’ หรือ ‘วัฒนธรรมเสมาลุ่มน้ำโขง’ ซึ่งจะช่วยทำให้เรามองภาพที่ใหญ่ขึ้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

คำถามว่าทำไมวัฒนธรรมใบเสมาจึงแพร่กระจายในเขตลุ่มน้ำโขง-อีสาน เหตุผลหลักน่าจะเป็นเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางบกที่เดินทางตัดจากจีนเข้าสู่เวียดนามแล้วผ่านภาคอีสาน จากนั้นผ่านลงไปในลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้วข้ามไปยังทะเลอันดามันนั่นเอง

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติเรื่องที่สี่ มรดกโลกมักถูกขีดขั้นด้วยเส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความจริงแล้วนอกเหนือไปจากภูพระบาทยังมีแหล่งโบราณคดีที่คล้ายกันอีก 2 แห่งอยู่ในประเทศลาว ได้แก่ ด่านสูง ซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไปจากภูพระบาทราว 45 กิโลเมตร และวังช้าง ซึ่งอยู่ทางเหนือของด่านสูงราว 35 กิโลเมตร ทั้งที่ด่านสูงและวังช้างต่างมีการสลักพระพุทธรูปในศิลปะแบบวัฒนธรรมเสมาหรือเรียกแบบเก่าคือแบบทวารวดีด้วยกันทั้งคู่ อาจกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

พระพุทธรูปแกะสลักที่แหล่งโบราณคดีวังช้าง ประเทศลาว

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

(อ้างอิง: )

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ประเด็นของข้อมูลข้างต้นนี้ทำให้เห็นปัญหาของการเสนอมรดกโลกที่เส้นพรมแดนของรัฐชาติสมัยใหม่ได้กลายมาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการเข้าใจภาพกว้างของวัฒนธรรมเสมาและการสลักพระพุทธรูปหินบนเสาหินและโต๊ะหินบนภูเขาที่พบร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

จากการสนทนากับ ดร.สตีเฟ่น เมอร์ฟีย์ ก็มองว่าถ้าในเชิงอุดมคติแล้ว หากมีการเสนอร่วมกันระหว่างไทยกับลาวก็จะช่วยทำให้เราเห็นเครือข่ายของพระยุคโบราณที่เป็นพระป่าหรืออรัญวาสี และเข้าใจการแพร่กระจายของศาสนาพุทธยุคต้นที่เข้าไปยังพื้นที่ตอนในของแผ่นดินมากขึ้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

ในความเห็นของผู้เขียนคิดว่าแม้ว่าการเสนอมรดกโลกภายใต้แนวคิดที่เสนอร่วมกันระหว่างสองประเทศอาจจะเป็นเรื่องยากภายใต้เงื่อนไขหลายๆ อย่าง อย่างน้อยที่สุดถ้าหากมีการนำเสนอข้อมูลของทางฝั่งลาวไปพร้อมกันด้วยก็จะเป็นเรื่องดีที่ช่วยสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวให้ดีมากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

 

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

คำอธิบายภาพเปิด: หอนางอุสา ภูพระบาท

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติ

อ้างอิง:

ความสำคัญของภูพระบาทปัญหาของทวารวดีอีสานและมรดกโลกที่ควรข้ามพรมแดนรัฐชาติFerlus, Michel. 2012. “Linguistic evidence of the trans-peninsular trade route from North Vietnam to the Gulf of Thailand (3rd-8th centuries),” Mon-Khmer Studies. 41, pp.10-19Hoshino, Tatsuo. 1986. Pour une histoire medieval du Moyen Mekong. Bangkok: Duang Kamol.Murphey, Stephen. 2010. The Buddhist boundary markers of northeast Thailand and central Laos, 7th-12th Centuries CE: towards an understanding of the archaeological, religious and artistic landscapes of the Khorat Plateau. PhD Thesis, SOAS, University of London.กรมศิลปากร. 2533. ศิลปะถ้ำ “กลุ่มบ้านผือ” จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. 2550. รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีนายเสียน (เขาฝาง 2) บ.วังประจบ ต.วังประจบ อ.เมือง จ.ตาก. เสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจบและสำนักงานศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. 2559. “การเคลื่อนย้ายของวัฒนธรรมกับโลงหินและหินตั้งที่ตำบลวังประจบ จังหวัดตาก,” วารสารเมืองโบราณ. 42, 2 (เม.ย.-มิ.ย.), น.145-159.
本文地址:http://realhistorychan.com/html/14d599945.html
版权声明

本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。

热门文章

全站热门

x.com

x.com

lululemon เปิดตัวแคมเปญ ‘Together we grow’ ร่วมกับแอมบาสเดอร์ Park Seo Joon, Amotti และ Leah Simmons

เริ่มแล้ว! งาน Thailand LAB INTERNATIONAL, Bio Asia Pacific, FutureCHEM และ Health & Innovation Asia 2024 | เดลินิวส์

"ปอดเหล็ก" นับพันเตรียมลุยศึก "เดอะ รีเจ้นท์ดารี่ เทรล ซีรี่ย์" 2 สนาม ที่เขาไม้แก้ว+หัวหิน | เดลินิวส์

มวยไทย "อิฟม่า ยูธ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพส์" ชมฟรี! ที่พารากอน 12-19 ก.ย.นี้ สนองซอฟต์พาวเวอร์รัฐบาลไทย | เดลินิวส์

ต้นสังกัดประกาศ 'จองฮัน SEVENTEEN' เตรียมเข้ากรมรับใช้ชาติ 26 ก.ย.! | เดลินิวส์

Redirecting...

友情链接