【rca slot】5 แนวโน้ม ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ น่าจับตาในปี 68 | เดลินิวส์
โดยมีมาตรการจูงใจ นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ และมาตรการกำกับดูแลหลายอย่าง เช่น อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ที่กำหนดกรอบยุทธศาสตร์ด้านพลังงานหมุนเวียน
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์“เอลวา หวัง” ผู้อำนวยการกลุ่มประจำเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลางของทรินา โซลาร์ เอเชียแปซิฟิก ฉายภาพว่า ข้อมูลจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ประจำปี 2567 ระบุว่า พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศภายในปี 2580 โดยเพิ่มขึ้นจาก 20% ในปี 2566 และการเดินหน้าสู่พลังงานสะอาดดังกล่าวนี้จะทำให้พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนสำคัญภายใต้แผน PDP ฉบับใหม่ โดยคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 33,269 เมกะวัตต์ ได้ภายในปี 2580 จากเดิมที่ผลิตได้เพียง 3,193 เมกะวัตต์ ในปี 2567
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์นอกจากนี้กระทรวงพลังงานของไทยยังมีแผนเปิดตลาดพลังงานให้กว้างขึ้นโดยอนุญาตให้มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างเอกชนภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่สนับสนุนการเชื่อมต่อโครงข่ายผู้เป็นเจ้าของโซลาร์โฟโตวอลเทอิกให้มากขึ้น แม้คาดการณ์ในอนาคตจะเติบโตมากขึ้น แต่ก็ยังมีอุปสรรคอีกหลายประการด้วยกัน เช่น ความไม่แน่นอนการเข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้า และข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์ในปี 2568 นั้น มีแนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์ที่น่าจับตาอยู่ 5 ประการ
เริ่มจาก
1. แผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูง: เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีต้นทุนลดลง โดยเทคโนโลยีโซลาร์ TOPCon ยังเป็นตัวเลือกระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์อย่างน้อยในอีกห้าปีข้างหน้า เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการเติมช่องว่างของตลาดด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าและให้คุณค่าแก่ลูกค้าได้มากกว่า
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์2. พลังงานแสงอาทิตย์และการกักเก็บพลังงาน: ข้อมูลการคาดการณ์จาก BloombergNEF ระบุว่า ตั้งแต่ปี 66 73 ตลาดการกักเก็บพลังงานทั่วโลกจะเติบโตที่อัตราเฉลี่ย 21% ต่อปี จนแตะระดับ 137 กิกะวัตต์/442 กิกะวัตต์-ชั่วโมง ภายในปี 73 เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เช่น การเปลี่ยนจากแบตเตอรี่ NMC (Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide) มาเป็นแบตเตอรี่ LFP (Lithium Iron Phosphate) ให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ตํ่าลง โดยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ LFP ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าในด้านระบบจัดการแบตเตอรี่ ที่ผสานการทำงานร่วมกับ AI และแมชีนเลิร์นนิง
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถทำงานผสานกับระบบกักเก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบตเตอรี่เหล่านี้จะจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินที่ผลิตได้ในช่วงกลางวัน และปล่อยพลังงานออกมาในช่วงที่มีความต้องการสูง หรือในช่วงที่มีแสงอาทิตย์จำกัด เช่น ตอนกลางคืนหรือในวันที่มีเมฆมาก ดังนั้น การผสานรวมพลังงานแสงอาทิตย์เข้ากับระบบกักเก็บพลังงานจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของโครงข่ายไฟฟ้า และเพิ่มสัดส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์3.ระบบโซลาร์เซลล์ไฮบริด : ระบบไฮบริดกำลังกลายเป็นแนวโน้มหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในขณะที่มีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โรงไฟฟ้าก็มีตัวเลือกมากขึ้นในการจัดการกับพลังงานหมุนเวียน นวัตกรรมทุกวันนี้ช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจพาณิชย์สามารถผสานระบบผลิตไฟฟ้าจากหลายแหล่งพลังงานไว้ได้ในระบบเดียวโรงไฟฟ้าหรือผู้ใช้พลังงานรายใหญ่สามารถติดตั้งฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนพื้นดินควบคู่ไปกับชนิดลอยนํ้า หรือผสานโรงไฟฟ้าพลังนํ้าเข้ากับฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยนํ้า แล้วใช้งานร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน โดยระบบเหล่านี้สามารถเพิ่มและจัดการประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้สูงสุด ทำให้มีการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าและช่วยลดต้นทุนได้
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์4. อะกริวอลทาอิกส์ หรือใช้โซลาร์เซลล์ที่ได้ประโยชน์สองทาง หมายถึง การทำการเกษตรควบคู่กับโซลาร์ฟาร์ม เช่น การปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ หรือการสร้างแหล่งที่อยู่ให้แมลงผสมเกสร เอาไว้ใต้หรือใกล้กับแผงโซลาร์เซลล์ เหตุผลที่เราพูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะสังคมไทยมีรากฐานมาจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ โดยมีครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมอยู่ประมาณ 8.8 ล้านครัวเรือนจากทั้งหมด 23.57 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นประมาณ 37.34% ของประชากร
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์5. การประยุกต์ใช้แผงโซลาร์เซลล์เชิงสร้างสรรค์ : ปัจจุบัน เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์แบบโค้งหรือชนิดฟิล์มบาง (Thin-Film) ทำให้สามารถดัด ม้วน หรือออกแบบแผงให้มีรูปทรงโค้งได้ จึงเปิดโอกาสให้วิศวกรและศิลปินสามารถพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม แผงโซลาร์เซลล์ที่ยืดหยุ่นซึ่งทำจากวัสดุ PV หรือแผ่นฟิล์มบางนั้นมีนํ้าหนักเบาและใช้งานได้หลากหลาย เช่น สามารถนำไปติดตั้งบนหลังคา ยานพาหนะ หรือแก็ดเจ็ตที่สวมใส่กับร่างกาย
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็ถือเป็นแนวทางที่ช่วยขยายขอบเขตจินตนาการและทำให้พลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้.
แนวโน้มพลังงานแสงอาทิตย์น่าจับตาในปีเดลินิวส์本文地址:http://realhistorychan.com/anyt-01242022.html
版权声明
本文仅代表作者观点,不代表本站立场。
本文系作者授权发表,未经许可,不得转载。